วันนี้ พรุ่งนี้ และอนาคต กับอุปสรรคการเดินเท้าในกทม.

วันนี้ พรุ่งนี้ และอนาคต กับอุปสรรคการเดินเท้าในกทม.

NOTE:
– จากการสำรวจพบว่าระยะทางเฉลี่ยที่ไกลที่สุดที่คนกรุงเทพฯ พอใจที่จะเดินเท้าไปยังสถานที่ต่างๆคือ 797.6 เมตรหรือ 9.97 นาที ในขณะที่คนญี่ปุ่นเดินได้ 820 เมตร คนอเมริกันเดินได้ 805 เมตร และคนฮ่องกงเดินได้ 600 เมตร
– ผลการศึกษาปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วประเทศ 21,429 ราย เท่ากับเสียชีวิต 32.90 รายต่อแสนประชากร ทุก 24 นาที จะมีคนเสียชีวิตบนท้องถนนอย่างน้อย 1 คน จำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุ 3 ใน 4 หรือ 76 % (857,572 คน) ใช้รถ จยย. รองลงมาเป็นจักรยาน 8% (99,298 คน) และคนเดินเท้า

ช่วงเวลาพักเที่ยง กลับบ้าน หรือเวลาเช้าที่คุณต้องสัญจรบนทางเท้า เคยสังเกตไหมว่า จะมีสักกี่ครั้งที่ตัวเองต้องลงไปเดินบนถนน เพราะเหตุอุปสรรคต่างๆ ที่พบในแต่ละวัน ทั้งสภาพพื้นที่ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ยิ่งเวลาที่ฝนตกแล้วน้ำขังลงไปในอิฐบล็อก หากเราเผลอไปเหยียบมีหวังน้ำเน่ากระเด็นขึ้นมาสาดจนเลอะไปทั้งรองเท้า ไหนจะมอเตอร์ไซค์ที่มักง่าย ขี่ขึ้นมาสวนทางบนทางเท้าอีก บางรายถึงขนาดบีบแตรไล่ให้เราหลบ ปัญหากวนใจเหล่านี้ที่ต้องเจอในทุกๆ วัน และมันดูจะยังไม่ได้รับการแก้ไขมากพอที่จะสามารถเอื้อความสะดวกในการเดินสัญจรกลับมาให้เราดีอย่างเดิมได้ จากการสำรวจผู้ใช้ถนนในกทม. โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อุปสรรคในการเดินเท้าหลักๆ ที่ต้องเจอคือ

1

1. ปัญหาด้านความปลอดภัย
ปัญหาอันตรายจากอาชญากรรม (ร้อยละ 32.5)
ปัญหาอันตรายจากอุบัติเหตุบนทางเท้า (ร้อยละ 31.5)
ปัญหาในการเดินในยามค่ำคืนไม่มีแสงไฟส่องสว่าง (ร้อยละ 31.5)

2. ปัญหาด้านความสะดวกสบายในการเดิน
การไม่มีสถานีโดยสารประจำทางในระยะเดินเท้า (ร้อยละ 26.9)
การที่ในพื้นที่ไม่มีทางเดินเท้า หรือทางเดินเท้าไม่ต่อเนื่อง (ร้อยละ 21.6)
ปัญหาทางเท้าเป็นหลุมเป็นบ่อ ไม่ราบเรียบ (ร้อยละ 18.4)

3. ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการเดิน
การที่ไม่มีร้านค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อยู่ระหว่างทาง (ร้อยละ 44)
ปัญหาสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่สวยงาม ไม่ดึงดูดการเดินเท้า (ร้อยละ 23.3 )
ความสกปรกของทางเท้ารวมถึงการมีขยะมูลฝอย (ร้อยละ16.8)

2

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้เริ่มกลายเป็นการเรียกร้องสิทธิของทั้งผู้ใช้ทางเท้าในการสัญจรมากขึ้น รวมถึงผู้ใช้ทางเท้าในการหาประโยชน์ให้กับตัวเอง เห็นได้จากข่าวเมื่อช่วงปีที่แล้วที่ยาวนานต่อเนื่องมาถึงปีนี้ กับเหตุการณ์ ทวงถามสิทธิคนเดินเท้าอยู่ที่ไหน? เมื่อ “ทางเท้า” เต็มไปด้วยป้าย หาบเร่ และแผงลอย การประท้วงที่ดูจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่ก็จบลงด้วยการที่ภาครัฐบาลช่วยหาทางออกตรงกลาง ระหว่างการคืนทางเท้าให้ผู้สัญจร และจัดหาพื้นที่ขายของให้กับแม่ค้าพ่อค้าที่วางหาบเร่ แผงลอยบนทางเท้าของถนน โดยการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยในพื้นที่ต่างๆ โดยกำหนดแผนการจัดระเบียบ จะยกเลิกทางเท้าใน 6 เขต รวมทั้งสิ้น 21 จุด จำนวนผู้ค้ารวม 1,963 ราย

หากจะพูดในอีกแง่ “การเดินเท้า” ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ในระดับส่วนบุคคลการเดินเท้าช่วยเพิ่มระดับกิจกรรมทางกายและสร้างเสริมสุขภาพของผู้คนในชีวิตประจำวัน ที่สามารถทำได้ง่าย และไม่มีค่าใช้จ่าย ในระดับสังคม การเดินเท้าช่วยกระจายรายได้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ ในระดับย่าน ตลอดจนการส่งเสริมความเท่าเทียมและความสัมพันธ์ในแนวราบของผู้คนในสังคม

จริงๆ แล้วเราไม่ต้องรอให้ภาครัฐบาลหรือองค์กรต่างๆ มาแก้ปัญหานี้ เราเพียงแต่เริ่มจากตัวเอง #Weculture ด้วยการร่วมมือและช่วยกัน เปลี่ยนความคิดและทัศนคติของตัวเอง เปิดรับความคิดเห็นคนอื่น แบ่งปันความรู้ ทักษะ ความสามารถ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของคนเมือง เพราะเราไม่สามารถทำคนเดียวได้ การสร้างจิตสำนึกร่วมกัน เอื้อประโยชน์ทั้งเขาและเรา ยอมคนละครึ่งทาง ไม่มีคำว่าตัวเองฝ่ายเดียว ปัญหาอุปสรรคในการเดินเท้านี้คงจะค่อยๆ หมดไป และคงเหลือไมตรีที่ดีต่อกันในการใช้ถนนทางเดินในอนาคต

มาร่วมพัฒนาและช่วยกันสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าสำหรับคนเมืองกันครับ… #Weculture

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก www.goodwalk.org และ http://www.thaihealth.or.th/

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top