รับมือเบื้องต้นกับปัญหาน้ำรั่วซึมหน้าฝน

รับมือเบื้องต้นกับปัญหาน้ำรั่วซึมหน้าฝน

NOTE:
– กรมอุตุฯเตือนกรุงเทพฯและปริมณฑลในช่วงนี้จะยังมีฝนฟ้าคะนองถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่โดยรวม
– ร้อยละ 50 ของปัญหาที่เกิดกับตัวบ้านในช่วงหน้าฝนนั้นเกิดขึ้นบริเวณหลังคามากกว่าส่วนอื่นของบ้านไม่ว่าจะเป็น หลังคารั่ว, แผ่นกระเบื้องหลุด, น้ำจากหลังคาสร้างความเสียหายให้กับภูมิทัศน์รอบบ้านเป็นต้น
– ร้อยละ 80 ของหลังคาที่รั่วพบว่ามาจากบริเวณครอบสันหลังคาแทบทั้งสิ้น

เชื่อว่าเมื่อถึงหน้าฝนแบบนี้ หนึ่งสิ่งที่มักจะตามมาหลังจากฝนตกติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็คือปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าสู่ตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นหลังคาหรือตัวผนังก็ตามแต่ที่มักจะเป็นปัญหากังวลใจให้เจ้าของบ้านอยู่เสมอ วันนี้เราจึงมีเทคนิครับมือเบื้องต้นในการจัดการกับปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าสู่ตัวบ้านในช่วงหน้าฝนมาฝากชาว Gen-C ให้นำไปปรับใช้กัน จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยครับ

สำหรับปัญหาน้ำรั่วซึมหน้าฝนเข้าสู่ตัวบ้านนั้น หลักๆเลยมีด้วยกันอยู่สองส่วนได้แก่บริเวณหลังคาและผนัง

01

1.น้ำรั่วซึมจากทางหลังคา

“หลังคา” เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านที่ต้องเผชิญกับมลภาวะภายนอกทั้งแสงแดด ความร้อน ลม ฝุ่น และน้ำฝน เมื่อสะสมเป็นระยะเวลานานเข้า ก็อาจส่งผลต่อความแข็งแรงของวัสดุ และเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝนที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างมากจึงทำให้เกิดการรั่วซึมบริเวณหลังคาตามมา

สาเหตุของการเกิดรอยรั่วซึมบริเวณกระเบื้องมุงหลังคาและรางน้ำฝน
รอยรั่วบริเวณกระเบื้องหลังคานั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น รอยร้าวจากขั้นตอนการติดตั้ง การเลือกใช้กระเบื้องที่มีรอยแตกหักมามุงหลังคา องศาในการมุงหลังคา การหันทิศทางของแผ่นกระเบื้อง การมุงไม่สนิท หรืออุบัติเหตุจากธรรมชาติเช่นกิ่งไม้ร่วงใส่ ลมพายุ ใบไม้ทับถม ก็ทำให้เกิดรอยรั่วบริเวณกระเบื้องมุงหลังคาและรางน้ำฝนได้

วิธีรับมือเบื้องต้น
ในกรณีมีน้ำหยดลงมาบริเวณฝ้าเพดาน ถ้าเราใช้ฝ้าเพดานชนิดที่สามารถเปิดได้ ก็ควรเปิดเช็ครอยรั่วว่ามาจากส่วนใดของหลังคาเพื่อที่จะได้แจ้งช่างได้ถูกจุด
ในกรณีที่มีรอยรั่วไม่มากสามารถซื้อพวกวัสดุสำหรับงานซ่อมรอยรั่วหรือวัสดุกันซึมมาอุดรอยรั่วเบื้องต้นได้เอง ก่อนที่จะโทรตามช่างเพื่อซ่อมแซมหลังคาครั้งใหญ่
หมั่นทำความสะอาดหลังคาอยู่เสมอ เพราะหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดรอยรั่วคือการผุพังของวัสดุอันเกิดมาจากการทับถมของซากใบไม้และกิ่งไม้เป็นระยะเวลานานๆ การทำความสะอาดพื้นที่เหล่านี้จะช่วยให้หลังคาไม่ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากเกินไป อีกทั้งยังสามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วเวลาที่ฝนตกหนักๆอีกด้วย
การเลือกใช้รางน้ำฝนที่มีขนาดไม่สัมพันธ์กับหลังคา เช่นขอบรางด้านนอกสูงกว่าด้านใน จึงทำให้ปริมาณน้ำฝนไหลย้อนเข้าสู่ตัวบ้านจนเกิดรอยร้าว ทางแก้เบื้องต้นคือเจาะรูระบายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำฝนล้นรางตามมา

02

2.น้ำรั่วซึมจากรางน้ำฝน

“รางน้ำฝน” เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยระบายน้ำออกจากหลังคาให้ไหลไปยังจุดที่ต้องการ ทั้งนี้รางน้ำฝนมีตั้งแต่ชนิดที่ทำจาก คอนกรีต สังกะสี สแตนเลส ไฟเบอร์กลาส ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป

สาเหตุของการเกิดรอยรั่วซึมบริเวณรางน้ำฝน
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้รางน้ำฝนเสื่อมคุณภาพและเกิดการรั่วซึมสืบเนื่องมาจากการอุดตันของทางน้ำจากเศษใบไม้และกิ่งไม้ที่มารวมตัวกัน รวมไปถึงการติดตั้งรางน้ำฝนที่ไม่ได้คุณภาพ มีขนาดที่เล็กเกินไปหรือใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับตัวบ้านก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีน้ำรั่วซึมออกจากรางเข้าสู่ตัวบ้านได้เช่นกัน

วิธีรับมือเบื้องต้น
เช่นเดียวกันกับหลังคา หมั่นทำความสะอาดรางน้ำฝนไม่ให้มีเศษใบไม้หรือกิ่งไม้มาอุดตัน เพราะเศษซากพวกนี้มักจะกีดขวางทางเดินของการระบายน้ำและทำให้รางน้ำฝนรับน้ำหนักที่มากเกินความจำเป็น จนก่อให้เกิดรอยรั่วซึมตามมา

การเลือกใช้รางน้ำฝนที่มีขนาดไม่สัมพันธ์กับหลังคา เช่นขอบรางด้านนอกสูงกว่าด้านใน จึงทำให้ปริมาณน้ำฝนไหลย้อนเข้าสู่ตัวบ้านจนเกิดรอยร้าว ทางแก้เบื้องต้นคือเจาะรูระบายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำฝนล้นรางตามมา

03

3.น้ำรั่วซึมจากทางผนัง

นอกเหนือจาก “หลังคา” และ “รางน้ำฝน” แล้ว “ผนัง” ก็เป็นอีกพื้นที่ที่ต้องเผชิญมลภาวะแสงแดด ความร้อน ลม ฝุ่นและน้ำฝน เช่นกัน

สาเหตุของการเกิดรอยรั่วซึมบริเวณผนัง
ผนังส่วนมากมักเกิดรอยร้าวเมื่อใช้งานไปนานๆจากวัสดุที่เสื่อมคุณภาพหรือพื้นที่โดยรอบทรุดตัว นอกจากนี้เมื่อมีการต่อเติมพื้นที่ของตัวบ้าน ช่วงรอยต่อเหล่านั้นเองก็อาจกลายเป็นสาเหตุของรอยร้าวเพิ่มเติมได้ในอนาคต

วิธีรับมือเบื้องต้น
หากมีรอยร้าวเล็กๆที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายอย่างตามขอบประตู หน้าต่าง หรือบริเวณผนังส่วนอื่นๆ ในเบื้องต้นสามารถใช้วัสดุจำพวก ซิลิโคน พียู หรือปูนซีเมนต์สำหรับงานซ่อม ในการอุดรอยรั่วพวกนั้นได้ด้วยตนเอง
ในกรณีที่ส่วนต่อเติมทรุดตัวอาจใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นเช่น ซิลิโคน ในการอุดรอยร้าวเหล่านั้น

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: mthai.com , scgbuildingmaterials

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top