เรื่องลับๆ ที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับบัตร Rabbit

เรื่องลับๆ ที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับบัตร Rabbit

NOTE:
– รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ผ่านเส้นทางสองสายได้แก่เส้นสุขุมวิทระยะทาง 17 กม. และ เส้นสีลมระยะทาง 6.5 กม.
– แต่เดิมมีการใช้ บัตรโดยสารบีทีเอส สมาร์ทพาส ในการเติมเงินเพื่อเดินทางก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้บัตรแรบบิทในปี 2555
– ปัจจุบัน รถไฟฟ้าบีทีเอส มีผู้โดยสารใช้บริการราวๆ 7 แสนเที่ยวคนต่อวันโดยวันที่มีผู้โดยสารใช้บริการมากที่สุดคือวันที่ 13 มกราคม 2557 ซึ่งมีผู้โดยสารมากกว่า 9 แสนเที่ยวคนต่อวัน
– จากเส้นทาง 23.5 กิโลเมตรในปีแรกที่เปิดให้บริการ(2542) ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสมีเส้นทางที่เปิดให้บริการรวมกันกว่า 36.25 กิโลเมตร

01

เชื่อว่าชาว Gen-C ที่ใช้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Sky train) กันเป็นประจำคงต้องรู้จักเจ้าบัตร แรบบิท (Rabbit) กันเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะใช้ขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสได้แล้ว เจ้าบัตรแรบบิทนี้ยังมีคุณประโยชน์อีกมากมายที่คาดไม่ถึง และวันนี้เราก็ได้นำทริคและเรื่องลับๆในอีกแง่มุมเกี่ยวกับการใช้บัตรแรบบิทมาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยครับ

– แต่เดิมบัตรแรบบิทถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางของระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เจ้าแรกในไทย ที่สามารถใช้ระบบตั๋วร่วมระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอสกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ รวมไปถึงยังสามารถใช้ชำระสินค้าและค่าบริการต่างๆได้ แต่เนื่องจากตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการประสานงานระหว่างหน่วยงาน บัตรแรบบิทจึงใช้เดินทางได้แค่รถไฟฟ้าบีทีเอสเพียงเท่านั้น

– บัตรแรบบิทแบบมาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไปจะแบ่งผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่มจากอายุได้แก่ บัตรแรบบิทสำหรับบุคคลทั่วไป บัตรแรบบิทสำหรับนักเรียน-นักศึกษา(ไม่เกิน 23 ปี) และ บัตรแรบบิทสำหรับผู้สูงอายุ(60ปีขึ้นไป) โดยมีราคาเท่ากันคือ 200 บาท(แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมการออกบัตร 100 บาทและจำนวนเงินภายในบัตร 100 บาท)

– ตั้งแต่ 1 เมษายน เป็นต้นมา ทางบีทีเอสได้เปลี่ยนเงื่อนไขของการเติมเงินเข้าบัตรแรบบิทผ่านบัตรเครดิตใหม่ โดยจะไม่สามารถใช้บัตรเครดิตเพื่อเติมเงินบัตรแรบบิทเพียงอย่างเดียวได้ เว้นเสียแต่การเติมเงินพร้อมเติมเที่ยวเดินทาง, การซื้อบัตรแรบบิทใบใหม่พร้อมเติมเที่ยวเดินทาง และ การเติมเที่ยวเดินทางเพียงเท่านั้น

– นอกเหนือจากเคาน์เตอร์บีทีเอสของแต่ละสถานีเราสามารถเติมเงินเข้าบัตรแรบบิทผ่านทาง Tesco Lotus Express, mini Big C, McDonald’s, McCafé, The Mall Foodhall, Food Park และ MBK Food Island ได้เช่นกัน

– ร้านค้าที่สามารถใช้บัตรแรบบิทชำระแทนเงินสดได้ อาทิ McDonald’s, Burger King, Auntie Anne’s, Baskin Robbins, Coffee Today, Dairy Queen, Dunkin’ Donuts, ka-nom, KIN Donburi Café, Krispy Kreme, HKN, Ochaya, Starbucks, Subway,Tesco Lotus Express, TCDC, SF, Loft,mini Big Cและ Karmart เป็นต้น

– บัตรแรบบิทสามารถสะสมพ้อยท์ที่เรียกว่าแครอทพ้อยท์ได้ด้วยการลงทะเบียนที่เว็บไซต์ https://rabbit.co.th/ ซึ่งเมื่อเติมเงินหรือใช้จ่ายผ่านบัตรแรบบิทก็จะได้คะแนนสะสมเพื่อนำไปแลกแครอทรีวอร์ดสที่เป็นดีลคูปองลดราคาต่างๆ รวมไปถึงสามารถแลกกลับมาเป็นเงินภายในบัตรได้อีกเช่นกัน

– ในการแตะบัตรแรบบิทเข้าสู่สถานี ผู้โดยสารจะต้องแตะบัตรเพื่อออกจากสถานีภายใน 120 นาทีหรือราวๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากอยู่ภายในสถานีนานกว่าเวลาที่กำหนดจะต้องเสียค่าปรับเท่ากับอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่เรียกเก็บ

– บัตรแรบบิทจะมีอายุการใช้งาน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกบัตร

– อายุเงินในบัตรแรบบิทจะอยู่ได้ 2 ปี นับตั้งแต่การใช้งานครั้งสุดท้าย โดยถ้าหากมีการใช้งานอีกครั้งก็จะเป็นการต่ออายุวงเงินออกไปเรื่อยๆ

– ผู้โดยสารสามารถเติมเงินในบัตรแรบบิทได้ตั้งแต่ 100 บาท และจะมียอดเงินในบัตรสูงสุดได้เพียง 4,000 บาทเท่านั้น

– หากมีการนำบัตรแรบบิทไปใช้โดยมิชอบ(เช่นอายุเกิน 23 ปี แต่ยังใช้บัตรแรบบิทสำหรับนักเรียน-นักศึกษาอยู่)ทางบีทีเอสสามารถยึดบัตรคืนและเรียกให้ผู้โดยสารชำระค่าปรับในอัตราไม่เกิน 20 เท่าของค่าโดยสารสูงสุด

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: http://www.bts.co.th

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top