Porous City Network “ปฏิบัติการเมืองพรุน” แนวคิดแก้น้ำท่วมกรุงเทพฯ

Porous City Network “ปฏิบัติการเมืองพรุน” แนวคิดแก้น้ำท่วมกรุงเทพฯ

NOTE:
– 1 ในบรรดาเหตุการณ์ น้ำท่วมกรุงเทพ ที่เรียกได้ว่าเลวร้ายที่สุด ตราตรึงใจประชาชนชาวไทยมายาวนานนั่นก็คือเหตุการณ์ น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485
– นํ้าท่วมปี 2554 หรือมหาอุทกภัยเป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขง เริ่มตั้งแต่ 25 กรกฎาคมและสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม .. 2555 กินเวลาทั้งสิ้น 175 วัน เป็นความทรงจำครั้งใหญ่ที่ชาวไทยจะไม่มีวันลืม

ฝนตกทีไรน้ำท่วมทุกที ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ยังเป็นเรื่องเก่าที่รอการแก้ไขมานานหลายทศวรรษ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เมืองแรกที่ควรจะปฏิรูปปัญหาน้ำได้ เพราะถือเป็นศูนย์กลางของประเทศที่พัฒนาระบบการคมนาคมได้มากที่สุด แต่ทุกวันนี้เรายังคงเห็นฟีดหน้าโซเชียล ล้อเลียนเรื่องปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง นั่นอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดโครงการนี้จากไอเดียของกลุ่มภูมิสถาปนิกกลุ่มหนึ่งกำลังพยายามทำสิ่งที่คิดว่าจะสามารถช่วยกรุงเทพฯ ได้ และหากสำเร็จ เราไม่เพียงจะได้เมืองที่น้ำไม่ท่วม แต่ยังได้เมืองสีเขียวกลับมาด้วยครับ

โครงการที่ว่าก็คือ Porous City Network หรือปฏิบัติการเมืองพรุนกลุ่ม social enterprise หรือกิจการเพื่อสังคมที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่โดยกลุ่มภูมิสถาปนิกผู้รวมตัวกันด้วยความหวังว่าจะช่วยออกแบบเมืองให้อยู่ร่วมกับน้ำได้ดีขึ้นโดยผ่านการปรับปรุงพื้นที่เมืองโดยรอบให้เป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อให้พื้นดินของกรุงเทพฯ ซึมซับน้ำได้มากขึ้น โดยโครงการนี้นำโดยคุณกชกร วรอาคม จากบริษัท Landprocess ผู้ออกแบบสวนสาธารณะแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ อย่างสวนจุฬา 100 ปีนั่นเอง

01

Porous City Network หรือปฏิบัติการเมืองพรุนคืออะไรและช่วยเมืองได้อย่างไร?

หากคนที่สนใจเรื่องปัญหาการพัฒนาเมืองหน่อยจะรู้ว่า มหานครกรุงเทพฯ นั้นตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มชุ่มน้ำ ทำให้ทุกปีมักจะประสบกับปัญหาน้ำหลาก และสถานการณ์เริ่มเลวร้ายขึ้นเมื่อเริ่มมีการพัฒนาเมืองและสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้น ทำให้เมืองเป็นพื้นคอนกรีตจนไม่สามารถซึมซับน้ำได้เหมือนผืนดินแบบเดิมอีกต่อไป เปรียบเทียบดินเป็นฟองน้ำก็เหมือนกับเราไปปูนไปอุดรูต่างๆ ของฟองน้ำจนไม่สามารถซับน้ำได้อีกต่อไปนั่นเอง และตอนนี้ยิ่งบวกกับภาวะโลกร้อน น้ำทะเลสูงขึ้นปีละถึง 25 มิลลิเมตรทุกปี แถมการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างก็ทำให้แผ่นดินกรุงเทพฯ ทรุดลงทุกปี ทำให้ไม่ต้องคำนวณให้มากความว่า กรุงเทพฯ จะจมลงและเผชิญกับน้ำท่วมหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ

02

Porous City Network ใช้ความรู้เชิงภูมิสถาปัตย์และการออกแบบไปช่วยให้ความรู้ แนะนำ การออกแบบกับองค์กรต่างๆ จนถึงดูแลระหว่างกระบวนการที่จะเปลี่ยนพื้นที่สาธารณะของเมืองให้เป็นพื้นที่สีเขียวหลากหลายแบบ แล้วแต่บริบทและความต้องการของบริเวณ ตั้งแต่สวนสาธารณะ สวนน้ำฝน (rain garden) ป่าในเมือง อาคารรักษ์โลก จนถึงการพลิกฟื้นคูคลองที่เคยเป็นทางน้ำกลับมา แล้วจากนั้น ทีมงานก็จะนำองค์ความรู้จากโครงการต่างๆ มาเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป

และต่างการทำงานเชิงรับแบบบริษัทภูมิสถาปัตย์ที่อาจทำงานกับลูกค้าหรือองค์กร Porous City Network จะเน้นการทำงานเชิงรุกกับผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนต่างๆ เพราะกชกรมองว่า ขณะที่คนเมืองโดยมากอาจเป็นคนก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่คนรับผลกระทบอาจเป็นชาวบ้านธรรมดาที่อาศัยตามพื้นที่เปราะบางทางสภาพภูมิอากาศ เช่น ริมคลอง ริมทะเล ริมขอบเมืองที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ผลงานแรกของทีมที่ทำร่วมกับนักออกแบบอาสาสมัคร จึงเป็นการพัฒนาพื้นที่รกร้างริมคลองให้ชุมชนลาดพร้าว ที่หลายคนอาจรู้ว่าได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักหนาแค่ไหน

ที่สำคัญโครงการนี้เข้ารอบแข่งขัน BEST Climate Practices Contest 2017 เพื่อชิงทุนสนับสนุนจากโครงการ ซึ่งสามารถเอาชนะโครงการอื่นๆ ถึง 2,789 ทีมจาก 163 ประเทศ จนเข้ามาเป็น 73 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบ

และสิ่งที่โครงการนี้ต้องการคือเสียงโหวตเพื่อให้ได้เข้ารอบเพื่อนำเงินทุน start up นี้มาพัฒนาโครงการนี้ได้จริงในอนาคต และตอนนี้ต้องรีบหน่อยแล้ว เพราะโครงการกำลังจะปิดโหวตในวันที่ 26 ..นี้แล้ว

ใครอยากเห็นโครงการนี้เป็นจริง ก็สามารถเข้าไปโหวตที่ลิงก์นี้ หรืออ่านวิธีการโหวตที่นี่ คลิกเลย

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: www.soimilk.com และ https://readthecloud.co

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top