NOTE:
– สถานีสะพานตากสิน เป็นสถานีรถไฟฟ้าแห่งเดียวในกรุงเทพมหานครที่เชื่อมต่อกับการสัญจรทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ท่าเรือสาทร และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบีทีเอส
สถานีสะพานตากสิน หรือ จากเดิมเป็นสถานีที่มีทางวิ่งเดี่ยว ทำให้ขบวนรถไฟฟ้าสายสีลม และสายสุขุมวิท ต้องเสียเวลาจอดรอสับรางประมาณ 3-5 นาทีทุกครั้ง ที่เดินรถผ่านจุดนี้
มีแผนจะขยายช่องทางเดินรถ ให้เป็นทางวิ่งคู่ แทนการทุบทิ้งเพื่อสร้างสถานีใหม่ หวังให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น และสามารถย่นระยะเวลาเดินรถในสายสีลม ที่มีความถี่ในการให้บริการช่วงชั่วโมงเร่งด่วน 4 นาทีต่อขบวน เหลือ 3 นาทีต่อขบวนได้ คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 27 เดือน โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนกันยายนนี้ และเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2562
เนื่องจากสถานีสะพานตากสิน ตามแผนแม่บทเดิมเมื่อ พ.ศ. 2538 เมื่อมีการก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมในฝั่งธนบุรีจะต้องมีการทุบตัวสถานีทิ้งเพื่อทำเป็นรางรถไฟฟ้าจากสถานีสุรศักดิ์ไปยังสถานีกรุงธนบุรีแทน แต่เนื่องจากประชาชนในพื้นที่เรียกร้องไม่ให้มีการทุบสถานีเกิดขึ้น เนื่องมาจากสถานีดังกล่าวเชื่อมต่อกับท่าเรือสาธร ซึ่งเป็นท่าเรือโดยสารที่สำคัญแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานครจึงได้ทำการเข้าปรึกษากับกรมทางหลวงชนบท ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อที่จะทำการขยายเลนสะพานอีก 1 เลนทั้งสองข้าง แล้วทำการขยายพื้นที่ชานชาลาของสถานีและสร้างรางเพิ่มอีก 1 ราง (ลักษณะที่เป็นไปได้มากที่สุด คือชานชาลาข้าง) โดยในเบื้องต้นกรมทางหลวงชนบทก็ไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ และทางฝั่งกรุงเทพมหานครก็ยังไม่มีทางออกของปัญหาดังกล่าว บีทีเอสซีจึงต้องแก้ปัญหาโดยใช้รถไฟฟ้าที่มีความยาวเพิ่มขึ้นจากสามตู้เป็นสี่ตู้ และจัดการเดินรถใหม่ตามที่กล่าวมาข้างต้น
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 กระทรวงคมนาคม ได้มีมติให้ กรุงเทพมหานคร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส และกรมทางหลวงชนบท ดำเนินการปรับปรุงสถานีสะพานตากสินพร้อมปรับปรุงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดบริเวณสถานีสะพานตากสินเนื่องจากระยะทางยาวมากขึ้นแต่ติดปัญหาคอขวดทำให้ระบบไม่สามารถทำเวลาได้ โดยการปรับปรุงจะเริ่มจากก่อสร้างช่องการจราจรเพิ่มเติม ฝั่งละ 1 ช่องทาง บริเวณปีกนอกของสะพานตากสิน ขนาดกว้าง 1.80 เมตร ระยะทาง 230 เมตร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการจราจรในบริเวณดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า ระหว่างการก่อสร้าง ช่องทางการจราจรบริเวณสะพานตากสิน จะยังคงมีฝั่งละ 3 ช่องทางเช่นเดิม และผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ยังคงใช้บริการได้ตามปกติ
หลังจากนั้นจะเจาะช่องผิวการจราจรบริเวณสะพานด้านในขนาดกว้าง 180 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เมตร จำนวน 6 ช่อง เพื่อทำเป็นชานชาลา และทางวิ่งคู่ ใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 27 เดือน โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนกันยายนนี้ และเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งขณะนี้ จะมีการหารือร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงคมนาคม, กรุงเทพมหานคร, บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS และกองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อสรุปแนวทางดำเนินงานร่วมกัน
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก http://news.ch7.com และ https://th.wikipedia.org