มารู้จักกับ Ambivert อีก 1 บุคลิกภาพ ส่วนผสมระหว่าง Introvert และ Extrovert

Note : โดยส่วนใหญ่เรามักจะรู้จักกับคำว่า Introvert และ Extrovert มามากพอสมควร เนื่องจากเป็นบุคลิกที่มักถูกหยิบยกมาพูดในสื่อ Social หรือ Contents และใช้อย่างแพร่หลายในสังคม แต่หลายคนอาจสงสัยว่าหากเราเป็นคนประเภทที่ก้ำกึ่ง หรือเป็นลูกผสมระหว่าง Introvert และ Extrovert เราจะเป็นคนแบบไหนกันแน่ วันนี้เราจึงมีอีก 1 บุคลิกภาพที่อาจจะตอบโจทย์คุณได้ นั่นก็คือบุคลิกที่เรียกว่า Ambivert นั่นเอง ซึ่งคนแบบ Ambivert นั้นถือเป็นบุคลิกภาพที่องค์กรส่วนใหญ่ชอบ เพราะสามารถปรับตัวได้ง่าย และทำงานได้หลากหลาย

 

ว่าด้วยเรื่องของบุคลิกภาพ สำคัญอย่างไร

ambivert introvert extrovert

ในปัจจุบันที่โลกเรามีประชากรทั่วโลกกว่า 7,800 ล้านคน ซึ่งมาจากหลากหลายวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ ภาษา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่แต่ละคนมักมีความคิด การกระทำที่แตกต่างกัน นักจิตวิทยาจึงพยายามจำแนกคนออกมาเป็นบุคลิกภาพต่างๆ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม และสร้างความเข้าใจใน “คน” ได้มากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลอื่นๆตามมา เช่น นักการตลาดจะเข้าใจพฤติกรรมการซื้อ-ขาย / ฝ่ายบุคคลอาจใช้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบ เพื่อคัดคนเข้าทำงานได้เหมาะสม / นักวิจัยจะสามารถนำข้อมูลไปคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์บุคลิกภาพนั้นๆได้

หรือแม้แต่การส่งเสริมให้คนรู้จักตัวตน หรือค้นพบรูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเอง เพื่อตัดสินอนาคตที่จะเรียน ทำงาน หาคู่ครอง และวางแผนเป้าหมายของตัวเองได้สำเร็จ

 

บุคลิกภาพจำแนกเป็นกี่รูปแบบ

Carl Gustav Jung
Carl Gustav Jung – https://www.toolshero.com/toolsheroes/carl-jung/

 

 

 

 

นักจิตวิทยาหลากหลายคน ต่างมีทฤษฎีที่จะวิเคราะห์พฤติกรรม แตกต่างกันไป แต่ทฤษฎีที่มักจะถูกหยิบยกมามากที่สุดคือ ทฤษฎีของ คาร์ล กุลสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung) กับการแบ่งคนออกเป็น  Introvert และ Extrovert

และทฤษฎีของ อิซาเบล บริกส์ ไมเยอร์ส (Isabel Briggs Myers) และแม่ของเธอ แคทเธอรีน คุก บริกส์ (Katharine C. Briggs) ซึ่งต่อยอดแนวความคิดของ คาร์ล จุง โดยแบ่งคนออกเป็น 16 ประเภท ผ่านการทำแบบทดสอบที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางอย่าง MBTI หรืออีกชื่อคือแบบทดสอบ Myers-Briggs

 

ทำไม Introvert และ Extrovert จึงกลายมาเป็นบุคลิกภาพที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ambivert introvert extrovert

หากจะว่าไปแล้ว แม้แบบทดสอบ MBTI จะสามารถจำแนกคนได้ลึกกว่า กล่าวคือสามารถแบ่งคนได้ถึง 16 แบบซึ่งเพียงพอที่จะอธิบายลักษณะของคนๆนั้นได้อย่างเห็นภาพ แต่เพราะการมีหลายประเภทจึงทำให้ยากแก่การจดจำ ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ใช้ในบริษัทเพื่อคัดคนเข้าทำงาน หรือใช้สำหรับการวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตอบสนองเป้าหมายได้อย่างตรงจุด

แต่หากมองถึงการใช้งานแบบง่ายๆและเร็วๆแล้วนั้น การแบ่งคนออกเป็นแค่ 2 ประเภทคือ Introvert และ Extrovert โดยที่ตามทฤษฎีแล้ว ค่อนข้างมีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ทำให้สามารถทำความเข้าใจได้ทันที จดจำง่าย จึงมักถูกนำมาพูดถึงอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไปเสียแล้ว ที่จะอธิบายถึงคนๆนึงได้อย่างเห็นภาพด้วยการใช้แค่ Introvert และ Extrovert เป็นตัวอ้างถึง

 

Introvert

ambivert introvert extrovert

ลักษณะ : เป็นบุคลิกภาพของคนที่ค่อนข้างเก็บตัว ชอบคิด ชอบทำอะไรเงียบๆ คนเดียว มีโลกส่วนตัวสูง รู้สึกเหนื่อยกับการเจอคนหมู่มาก หรือการต้องเข้าสังคม มักไม่เป็นผู้เริ่มการสนทนาก่อน มักจะพูดน้อย เข้าถึงยาก ไว้ใจคนยาก จึงมักเก็บกดปัญหา หรือมักไม่ค่อยระบายให้ใครฟัง มีการคิดวิเคราะห์ที่ถี่ถ้วน

Note : คนแบบ introvert จึงเหมาะอย่างมากที่จะทำงานในลักษณะของการวางแผน การคิด วิเคราะห์ เช่น งานวิจัย การคำนวน เพราะเป็นคนลงลึกในรายละเอียดได้ดี ต้องใช้สมาธิกับตัวเอง หรือเหมาะกับการทำงานที่ไม่ต้องประสานงาน หรือเข้าร่วมสังคมมากนัก

ลองประเมินเพิ่มเติมว่าคุณเป็น Introvert หรือไม่คลิกที่นี่

 

Extrovert

ambivert introvert extrovert

ลักษณะ : เป็นบุคลิกภาพของคนที่เปิดเผย เข้าถึงง่าย พูดเก่ง เข้าสังคมเก่ง มีแนวโนมที่จะชอบไปงานสังสรรค์ ชอบทำความรู้จักคนอื่นๆ ชอบทำกิจกรรมกับคนหมู่มาก รู้สึกมีพลังอยู่เสมอเมื่อได้อยู่ท่ามกลางสังคมคนเยอะๆ และมักจะไม่ค่อยเก็บปัญหาไว้กับตัว และไม่ชอบการอยู่คนเดียวนานๆ

Note : คนแบบ Extrovert จึงเหมาะอย่างมากที่จะทำงานในลักษณะของการออกสื่อ ออกสังคม หรือต้องทำกิจกรรมร่วมกับคนหมู่มาก เช่น งานขาย นักการทูต นักพัฒนาและช่วยเหลือสังคม

ลองประเมินเพิ่มเติมว่าคุณเป็น Extrovert หรือไม่คลิกที่นี่

ทั้ง Introvert และ Extrovert ถือเป็นบุคลิกภาพที่แบ่งตามทฤษฎีของ คาร์ล จุง แต่ยุคปัจจุบันที่ผ่านมามากกว่า 50 ปีนับตั้งแต่ทฤษฎีของคาร์ล จุง ก่อกำเนิดขึ้น “คน” ส่วนใหญ่ในสังคมต่างต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด ดังนั้นจึงก่อให้เกิดบุคลิกภาพที่เป็นจุดร่วมระหว่าง Introvert และ Extrovert นั่นก็คือ Ambivert นั่นเอง

 

Ambivert

ambivert introvert extrovert

 

ลักษณะ : เป็นบุคลิกภาพของคนที่ก้ำกึ่งระหว่าง Introvert และ Extrovert หรือเป็นคนที่ปรับตัวเองเก่งนั่นเอง กล่าวคือหากต้องให้เข้าร่วมสังคม เนื่องจากการทำงาน หรือความรับผิดชอบบางอย่างก็สามารถทำได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังโหยหาความเป็นส่วนตัว หรือหากต้องอยู่ในสถาวะที่ต้องคิดวิเคราะห์ หรือทำงานคนเดียวก็ยังสามารถทำได้ดี มี 2 บุคลิกในตัวเองที่สามารถดึงเอาอีกบุคลิกออกมาได้เมื่อถึงสถานการณ์ที่จำเป็นต้องเป็นคนแบบใดแบบหนึ่ง

สิ่งที่โดดเด่นของคนแบบ Ambivert

  • มีความสามารถในการสร้างความสมดุลได้ดี โดยคนแบบ ambivert หากอยู่ในวงสนทนา จะสามารถทำลายความเงียบ หรือเป็นคนเริ่มต้นบทสนทนาได้ดี แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้คน introvert รู้สึกอึดอัดใจ
  • เป็นผู้ฟังที่ดี และสามารถสื่อสารได้ดี รู้จักสถานการณ์ไหนที่ควรพูดหรือฟัง และมักเป็นคนในวงประชุม ที่เปิดโอกาสให้ถาม หรือเปิดให้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
  • สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ตามสถานการณ์ เช่น หากคุณอยู่ในลิฟต์กับคนที่เพิ่งรู้จัก หากเป็นคน introvert อาจเงียบ ใส่หูฟัง และไม่เริ่มบทสนทนา คน Extrovert อาจเริ่มต้นด้วยการยิ้มให้เล็กน้อย และเริ่มบทสนทนา ในขณะที่คนแบบ Ambivert อาจทำได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับว่าคนๆนั้นเป็นใคร หรืออยู่ที่สถานการณ์ที่จำเป็นต้องเงียบ หรือต้องเริ่มต้นทำความรู้จัก
  • มีความสบายใจที่จะอยู่ในสังคมหมู่มาก แต่ก็ต้องการความเป็นส่วนตัวบ้างในบางช่วงเวลา
  • มีความเห็นอก เห็นใจ ซึ่งเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น หากมีเพื่อนมีปัญหาเข้ามาหา หากเป็นคน introvert เลือกที่จะรับฟัง คน Extrovert เลือกที่จะเสนอแนวทางความช่วยเหลือ ในขณะที่คน Ambivert จะมีความกระตือรือร้นที่จะรับฟัง และไม่ลังเลที่จะเสนอแนวทาง หรือยื่นมือเข้าช่วยเหลือ

บทสรุป :

  • คนแบบ Ambivert เหมาะที่จะทำงานได้หลากหลาย โดยเฉพาะการเป็นคนตรงกลางที่ช่วยไกล่เกลี่ยได้ดีระหว่าง คนแบบ Introvert และ Extrovert
  • เหมาะกับการทำธุรกิจต่างๆได้มากพอสมควร เพราะมีความยืดหยุ่นสูง มีทั้งมุมที่ชอบคิดได้ลึกซึ้งเหมือนคน introvert แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเข้าสังคม หรือมีทักษะการเจรจาได้ดีเหมือนคน Extrovert เช่นกันดังนั้นองค์กรโดยส่วนใหญ่จึงชอบคนแบบ Ambivert
  • แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเป็น คน Introvert และ Extrovert จะไม่ถูกเลือก เพราะสุดท้ายแล้วแต่ละบุคลิกภาพของคนก็มีข้อดีในตัวเอง และมีมุมที่สามารถทำงานเพื่อตอบสนององค์กรได้เช่นกัน อย่างที่มีคำกล่าวไว้เสมอว่า Put The Right Man on The Right Job (วางคนให้เหมาะกับงาน แล้วจะเกิดผล)

ที่มาข้อมูล : https://www.healthline.com/health/health-ambivert#signs

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top