4 โรควิตกกังวลที่มักเกิดขึ้นได้ใน “วัยทำงาน”

4 โรควิตกกังวลที่มักเกิดขึ้นได้ใน “วัยทำงาน”

ชาว Gen C ลองถามตัวเองกันดูว่า พักหลังมานี้เราเริ่มรู้สึกกังวลกับเรื่องต่างๆ มากเกินไปหรือเปล่า? ถ้าคำตอบคือใช่ ! แสดงว่าคุณกำลังมีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ครับ โดยโรคนี้ถือเป็นอาการทางจิตเวชที่พบได้บ่อยและยิ่งโดยเฉพาะในวัยทำงานที่มักจะเกิดอาการวิตกกังวลที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เราจึงขอหยิบเอา 4 ตัวอย่างของโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยในวัยทำงานมาแนะนำให้รู้จักกันครับ

4 โรควิตกกังวลที่มักเกิดขึ้นได้ใน “วัยทำงาน”

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวลทั่วไป คืออาการของความวิตกกังวลที่มากเกินไปกับเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องงาน เรื่องสุขภาพ เรื่องครอบครัว หรือแม้แต่เรื่องของผู้คนรอบข้าง ซึ่งเรายังสามารถควบคุมและจัดการความวิตกกังวลเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองอยู่ เพียงแต่จะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ และนอนไม่หลับตามมาบ้างก็เท่านั้น

4 โรควิตกกังวลที่มักเกิดขึ้นได้ใน “วัยทำงาน”

โรคกลัวสังคม (Social Phobia)

โรคกลัวสังคม คืออาการของความวิตกกังวลเมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายถูกเพ่งเล็ง หรือได้รับความสนใจมากๆ จากคนอื่น คนที่เป็นโรคนี้มักจะรู้สึกประหม่า กดดัน และคิดในแง่ลบกับผู้อื่นเมื่อต้องเข้าสังคมแทบทุกครั้ง จนทำให้รู้สึกไม่อยากเข้าสังคมตามมา

4 โรควิตกกังวลที่มักเกิดขึ้นได้ใน “วัยทำงาน”

โรคแพนิค (Panic Disorder)

โรคแพนิค หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคตื่นตระหนก คืออาการของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เพียงแต่จะรู้สึกกังวลกับทุกๆ เรื่องจนมากเกินความดี คนที่เป็นโรคนี้จึงมักจะรู้สึกมือสั่น หายใจเร็ว หัวใจเต้นแรง เหนื่อย หอบ เมื่อรู้สึกตื่นตระหนกในเรื่องต่างๆ ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้เรื้อรังก็อาจทำให้มีอาการซึมเศร้าตามมาได้

4 โรควิตกกังวลที่มักเกิดขึ้นได้ใน “วัยทำงาน”

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder)

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออาการของความวิตกกังวลจากความคิดที่ซ้ำไปซ้ำมา ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมแสดงออกเพื่อตอบสนองต่อความคิดเหล่านั้น เช่น การคิดว่าลืมปิดไฟ ปิดน้ำ หรือส่งงาน ซึ่งแม้จะเป็นอาการวิตกกังวลที่ไม่รุนแรงเท่าโรคอื่นๆ แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อยทีเดียวครับ

เพราะ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ถือเป็นอาการทางจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษา หากชาว Gen C คนไหนรู้สึกว่าตัวเองกำลังเข้าข่ายมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันนะครับ

ขอบคุณข้อมูลประกอบ

  • กรมสุขภาพจิต

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top