สำรวจตลาด Bike Sharing ที่กำลังรุกคืบตีตลาดในไทยอย่างหนัก

สำรวจตลาด Bike Sharing ที่กำลังรุกคืบตีตลาดในไทยอย่างหนัก

GC August

NOTE:
– ปัจจุบันมีผู้เดินทางท่องเที่ยวใช้งานจักรยานของ ofo ซึ่งมีมากกว่า 6.5 ล้านคัน ในเมืองมากกว่า 150 เมือง ใน 6 ประเทศ โดยมีการใช้งานมากกว่า 25 ล้านรายการต่อวัน
– Obike เปิดตัวในช่วงต้นปี 2560 โดยปัจจุบันมีพื้นที่บริการ 30 เมืองใน 10 ประเทศ เช่น สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, ออสเตรเลีย, เยอรมัน, เนเธอรเเลนด์, สเปน, ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร และมียอดผู้ใช้บริการในกลุ่มประเทศอาเซียนมากกว่า 2 ล้านคน

Sharing Economy ที่กำลังจะเข้ามารุกคืบตีตลาดในไทยอย่างหนักคือธุรกิจ ‘Bike Sharing’ หรือบริการให้เช่าจักรยานสาธารณะ โดยตอนนี้มีผู้ประกอบการถึง 3 รายหลักๆ แล้วที่พร้อมพุ่งกระโจนเข้ามาเป็นผู้เล่นในศึกนี้ได้แก่ โมไบค์ (Mobike) และ โอโฟ (ofo) ที่มาจากประเทศจีน และโอไบค์ (oBike) ที่มาจากสิงคโปร์

ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เน้นจับกลุ่มผู้ใช้งานตามสถานศึกษาและมหาวิทยาลัยมากกว่าเปิดให้บริการตามแลนด์มาร์กในกรุงเทพฯ เนื่องจากมองว่าบุคลากรในสถานศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการใช้งานจักรยานสูง นอกจากนี้ทั้ง 3 เจ้ายังขยายไปให้บริการที่จังหวัดภูเก็ตเหมือนๆ กัน เนื่องจากจังหวัดดังกล่าวเป็นเมืองท่องเที่ยวและมีศักยภาพจะกลายเป็นสมาร์ทซิตี้ในอนาคตอันใกล้นี้

บริษัทรับให้คำปรึกษาด้านธุรกิจอย่าง ‘iiMedia’ ในจีนทำการวิจัยถึงทิศทางการเติบโตของธุรกิจ Bike Sharing โดยคาดการณ์ว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าหรือช่วงปลายปี 2019 ตลาดดังกล่าวจะมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นเงินจำนวนกว่า 116,000 ล้านบาท!

ทำให้ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าทุกวันนี้ ธุรกิจ Sharing Economy หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปันกำลังกลายเป็นเทรนด์ธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากๆ โดยเฉพาะในไทย ธุรกิจจำพวกบริการขนส่งอย่าง Uber และ Grab บริการที่พักอาศัย Airbnb หรือบริการพื้นที่ทำงานแบบ Coworking Space จึงแผ่ขยายอาณาจักรตัวเองออกไปได้อย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาอันสั้น

ล่าสุด อีกหนึ่ง Sharing Economy ที่กำลังจะเข้ามารุกคืบตีตลาดในไทยอย่างหนักคือธุรกิจ ‘Bike Sharing’ หรือบริการให้เช่าจักรยานสาธารณะ โดยตอนนี้มีผู้ประกอบการถึง 3 รายหลักๆ แล้วที่พร้อมพุ่งกระโจนเข้ามาเป็นผู้เล่นในศึกนี้ได้แก่ โมไบค์ (Mobike), โอโฟ (ofo) และโอไบค์ (oBike) ซึ่งแต่ละรายก็มีวิธีจับกลุ่มผู้บริโภคที่ใกล้เคียงกันซะด้วย

ปรับเปลี่ยนเป้าหมายจากคนเมืองสู่กลุ่มมหาวิทยาลัย และเมืองท่องเที่ยวเป็นหลัก

mobike-(1)

MOBIKE

MOBIKE บริการให้เช่าจักรยานสาธารณะสัญชาติจีน ที่ตอนนี้เปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการ โดยจับมือกับสามพันธมิตร ได้แก่ 1 .เกษตร จะเป็นสถานที่แรก ที่ได้ใช้ Mobike ด้วยนโยบายที่จะเข้าสู่มหาลัยสีเขียวอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฟสแรกจะเริ่มในเดือนตุลาคมนี้ ที่ 500 คัน

2. เซ็นทรัลพัฒนา จะจัดพื้นที่สำหรับ Mobike เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งและพักผ่อนให้แก่ลูกค้า โดยเซ็นทรัลเวิลด์ จะเป็นศูนย์การค้าแรกที่มี Mobike

3. AIS จะเป็นพันธมิตรในด้านเทคโนโลยีกับ Mobike ด้วยระบบ NB-IoT และการชำระเงิน M-Pay

อัตราค่าบริการ Mobike : 2 เดือนแรก ฟรี หลังจากนั้น 10 บาท/ 30 นาที

0f0

OfO

ofo แอปบริการจักรยานสาธารณะแบบไร้สถานี

ofo ได้รับการออกแบบให้ทุกคนสามารถแบ่งปันการใช้งานจักรยานได้สาธารณะโดยบริษัทฯ มุ่งหวังให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้งานจักรยานได้ในทั่วทุกมุมของโลก ซึ่งตอนนี้ก็ส่งตรงมายังประเทศไทยโดย ofo จักรยานสาธารณะ แบบไร้สถานีชั้นนำของโลก ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนเป็นที่แรก และในอีกสามเดือนข้างหน้า ofo วางแผนที่จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น อีก 10 แห่ง ในประเทศไทย ก่อนที่จะเปิดให้บริการสำหรับการใช้งานทั่วไปบนท้องถนนในเมืองในอนาคต มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้การเดินทางระยะสั้นในเมือง สะดวก ราคาไม่แพง ช่วยให้มีสุขภาพดี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ลอว์เรนซ์ เฉา หัวหน้ากลุ่มธุรกิจประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ ofo กล่าวว่าเรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมการขี่จักรยานและช่วยแก้ไขสถานการณ์การจราจรทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ โดยบริษัทฯ พร้อมที่จะนำเสนอบริการเฉพาะสำหรับผู้ขับขี่พร้อมให้แนวทางแก้ปัญหาในการเดินทางที่ยั่งยืนสำหรับชาวเมือง

การเปิดตัวในประเทศไทยนับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะทำให้ ofo บรรลุเป้าหมายในการขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะเปิดให้บริการ 200 เมือง ใน20 ประเทศภายในสิ้นปีนี้

ที่ผ่านมาแพลตฟอร์มนี้ได้ช่วยให้ผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า100 ล้านคน เดินทางอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกสบายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาแล้วกว่า 2 พันล้านครั้ง

obike

OBIKE

oBike เป็นบริการใหม่ในไทยโดยสตาร์ทอัพจากสิงคโปร์ที่หวังจะช่วยแก้ไขปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ด้วยการช่วยให้คนเดินเท้าเดินเท้าปั่นจักรยานเชื่อมต่อไปยัง MRT และ BTS ใกล้เคียง โดยมีจุดเด่นคือเมื่อใช้งานเสร็จสามารถจอดไว้ตามที่จอดจักรยานทั่วๆ ไป ไม่ต้องนำกลับไปจอดที่สถานีใดๆ

โดยวิธีใช้งานเริ่มจากการดาวน์โหลดแอป oBike และจ่ายเงินมัดจำครั้งแรก 899 บาทผ่านเครดิตการ์ดก่อนจะเริ่มใช้งาน และก่อนจะเริ่มปั่นแต่ละครั้งต้องแสกน QR Code ที่อยู่ที่ตัวจักรยานแต่ละคันเพื่อปลดล็อค โดยอัตราค่าบริการในช่วงทดสอบตอนนี้อยู่ที่ 10 บาท/15 นาที โดยสามารถจองล่วงหน้าผ่านแอปได้ด้วย

ท่ามกลางผู้ให้บริการ Bike Sharing ทั้ง 3 เจ้าที่มาเจาะตลาดไทยในปีนี้ สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดที่สุดคือการที่พวกเขาเน้นจับกลุ่มเป้าหมายอย่างนักเรียนนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรตามสถานศึกษาเป็นหลัก เพราะมองว่าน่าจะมีไลฟ์สไตล์ที่ต้องพึ่งพาการขี่จักรยานสูง เช่นเดียวกับการเลือกภูเก็ตเป็นที่ตั้งหลักในการให้บริการเนื่องจากเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม และมีศักยภาพจะกลายเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)’ ในเร็ววันนี้

ซึ่งการที่ทั้งโอโฟและโมไบค์ไม่เน้นให้บริการในตัวเมืองกรุงเทพฯ ตั้งแต่แรก (โอไบค์ มีให้บริการตามสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT บ้าง ส่วนโอโฟเล็งจะเปิดให้บริการรอบเกาะรัตนโกสินทร์เนื่องจากมีเลนจักรยานที่ต่อเนื่อง) คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน เพราะระบบนิเวศในเมืองหลวงของเราไม่เอื้อประโยชน์ต่อการขับขี่จักรยานสักเท่าไหร่

แม้กรุงเทพฯ จะตีเลนขับขี่จักรยานจริงจังในเมืองมาตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2551 แต่สุดท้ายไบค์เลน (Bike Lane) ก็ไม่เป็นที่นิยมแม้จะถูกปรับปรุงให้ไฉไลกว่าเดิมอีกครั้งในปี 2558 ก็ตาม

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลจาก The standard

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top