NOTE:
– ที่ประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างจะมี Coin Locker หรือตู้ฝากสัมภาระปรากฏอยู่ตามสถานีรถไฟเยอะมาก บางตู้ใช้การหยอดเหรียญ บางตู้ชำระเงินโดยใช้ ic-card แตะเพื่อหักเงินจากบัตร ตู้ล็อคเกอร์ส่วนใหญ่มีกำหนดวันฝากสูงสุดได้ 3 วัน นับ 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ 24:00 – 24:00 นาฬิกาของอีกวัน แต่ขนาดของล็อกเกอร์และราคาอาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานี เช่น สถานีใหญ่อาจจะมีล็อกเกอร์ขนาดใหญ่ แต่ในสถานีเล็กๆ อาจจะมีแค่ขนาดกลาง หรือบางสถานีอาจไม่มีเลย
หลายคนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อยู่บ่อยๆ หากผ่านสถานีมักกะสันเคยสังเกตเห็นล็อกเกอร์เก็บสัมภาระสีเหลืองๆ กันบ้างรึเปล่า แต่ถ้าเป็นคนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าเพื่อไปทำงานหรือสัญจรระยะสั้นๆ อาจจะยังไม่เคยใช้บริการ Lock Box หรือตู้ล็อกเกอร์ฝากสัมภาระตามแนวรถไฟฟ้ากันใช่ไหม? เพราะมันถูกสร้างมาเพื่อมุ่งเน้นเป็นที่จัดเก็บอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ตลอดจนนักช๊อป และ ผู้ที่ไม่ต้องการหิ้วสัมภาระระหว่างการเดินทาง
ด้วย 5 ขั้นตอนการใช้งานง่ายๆ
1. กดปุ่มเลือกรายการเช่าล็อกเกอร์
2. เลือกช่องฝากของ
3. กำหนดรหัสผ่านของคุณเอง
4. ชำระเงิน (ระบบจะไม่ทอนเงิน)
5. นำสัมภาระใส่เข้าตู้
โดยราคาขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 4 ชั่วโมง 120 บาท 5 ชั่วโมง 150 บาท 6 ชั่วโมง 180 บาท 7 ชั่วโมง 210 บาท 8 ชั่วโมง 240 บาท เป็นต้น แต่ทว่าฝากเกิน 30 วัน สัมภาระจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทางบริษัททันที
พื้นที่ให้บริการ Lock Box ได้แก่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีมักกะสันเชื่อมต่อกับ MRT สถานีเพชรบุรี ,จตุจักรพลาซ่าMRT สถานีกำแพงเพชร และจุดต่อไปเร็วๆ นี้ที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ใกล้สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง
นอกจาก Lock Box จะเป็นหนึ่งในตู้ล็อกเกอร์ฝากสัมภาระที่น่าใช้งาน ยังมีอีกเจ้าที่ชื่อว่า Blocker ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกๆ เลยที่ให้บริการตู้ล็อกเกอร์ฝากสัมภาระ ที่สะดวกและใช้งานง่ายมาก เพราะเป็นตู้ทำรายการอัตโนมัติ สามารถเลือกฝากได้ทั้งรายวันหรือรายชั่วโมง
โดยเราจะต้องกรอกรายละเอียดการฝากของ ในขณะที่กรอกจะมีกล้องบันทึกใบหน้าเก็บไว้เป็นหลักฐานผู้ใช้บริการ และตัวผู้ใช้บริการเองที่เป็นคนไทย ต้องกรอกเลขบัตรประชาชน แต่ถ้าเป็นชาวต่างชาติ ให้กรอกเป็นหมายเลขโทรศัพท์ในไทยแทน แต่ก่อนฝากจะมีเจ้าหน้าที่ ตรวจสัมภาระก่อน ด้วยเครื่องสแกนความปลอดภัย แบบเดียวกับในสนามบิน เพื่อกันผู้ไม่หวังดีแอบนำวัตถุอันตรายมาฝาก
ส่วนล็อกเกอร์ที่รับฝากมีให้เลือกแค่ 2 ไซส์ คือ M และ L อัตราค่าบริการเริ่มต้น 50 บาท และต้องฝากขั้นต่ำ 3 ชั่วโมงขึ้นไป เวลาเปิดให้บริการได้ปรับเปลี่ยนใหม่ คือ 8.00 น. – 22.00 น. ถ้ามาหลัง 4 ทุ่มจะไม่สามารถเปิดตู้รับของได้ และยิ่งเป็นฝากแบบรายชั่วโมงด้วยละก็ ชั่วโมงที่เกินไป จะคิดชั่วโมงละ 20 บาท ส่วนของที่ห้ามนำมาฝากคือ สัตว์เลี้ยง อาหารมีกลิ่น และวัตถุอันตรายตอนนี้มีแค่ 2 สาขา คือที่ สาขาทางเชื่อมระหว่าง ARL กับ BTS สถานีพญาไท และที่สุวรรณภูมิ แวะไปใช้บริการกันได้เลย
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: www.mangozero.com