“โดรน”ผู้ช่วยใหม่หรือปัญหาใหญ่ที่ตามมา

“โดรน”ผู้ช่วยใหม่หรือปัญหาใหญ่ที่ตามมา

GC August

NOTE:
– “PwC บริษัทเครือข่ายผู้ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชีและภาษีได้ประเมินถึงแวดวงอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลกว่ามีแนวโน้มที่จะใช้งานโดรนเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ตลาดโดรนในปัจจุบันที่มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์จะขยายตัวได้สูงถึง 1.2 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2020
– นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา กระทรวงคมนาคมของไทยได้อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้โดนได้เพียง 2 แบบได้แก่ 1)โดรนที่น้ำหนักไม่ถึง 2 กิโลกรัม และ 2)โดรนที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม
– “ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีสัดส่วนความต้องการในการใช้อุปกรณ์ประเภทโดรนสูงถึงร้อยละ 38 ต่อปี

หนึ่งในแก็ดเจ็ตสำหรับถ่ายภาพที่กำลังมาแรงสุดๆในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นเจ้าโดรน” (Drone) อุปกรณ์ช่วยถ่ายภาพจากระยะไกลที่ทำให้เราได้มุมมองภาพที่แปลกตาและไม่เหมือนใครกันอย่างแน่นอน แต่ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นหลายๆอย่างจึงก่อให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับโดรนตามมาอีกมากมาย ซึ่งในวันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกันว่าโดรนนั้นคือผู้ช่วยใหม่หรือปัญหาใหญ่ที่ตามมากันแน่ครับ

1710TR06-01

โดรน” (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ” (Unmanned Aerial Vehicle) คืออุปกรณ์ทางการทหารที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับสอดแนมพื้นที่แนวรบหรือซุ่มโจมตีข้าศึก มีจุดกำเนิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยโดรนส่วนใหญ่ในสมัยนั้นจะติดตั้งกล้องความละเอียดสูงและอาวุธเอาไว้ ยิ่งโดยเฉพาะในปี 1914 ช่วงที่กองทัพอังกฤษรบกับฝรั่งเศส ฝ่ายอังกฤษได้ใช้ประโยชน์จากโดรนในการถ่ายภาพเส้นทางลำเลียงของกองทัพฝั่งศัตรูกว่า 1500 จุด จนทำให้กองทัพอังกฤษสามารถนำข้อมูลจากภาพถ่ายมาวิเคราะห์และลำเลียงกองทัพภาคพื้นดินหลบหลีกเครื่องกั้นต่างๆได้อย่างน่าอัศจรรย์

1710TR06-02

หลังเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 เทคโนโลยีของโดรนก็ถูกพัฒนาต่อเรื่อยๆจนแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ 1)โดรนที่ใช้ในการทหาร และ 2)โดรนที่ใช้กันทั่วไป โดยโดรนที่ใช้กันทั่วไปนั้นจะมีรูปแบบที่เรียกว่า มัลติคอปเตอร์ หรือ มัลติโรเตอร์ เนื่องจากเป็นโดรนที่มีรูปทรงคล้ายๆเฮลิคอปเตอร์และสามารถขึ้นลงในแนวตั้งผ่านชุดใบพัดขนาด 4-6 ชุดที่มีมอเตอร์ภายในตัวเองได้ ซึ่งเจ้าโดรนชนิดนี้เองที่ถูกนำไปพัฒนาต่อตามความต้องการในการใช้งานทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพจากมุมสูง, การใช้เก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์, การใช้ขนส่งสินค้าและยารักษาโรค รวมไปถึงการใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรเช่น ฉีดพ่นสารเคมี เป็นต้น

1710TR06-03

และด้วยความสามารถทางการบันทึกภาพที่สามารถควบคุมได้จากระยะไกล จึงทำให้โดรนเริ่มเป็นที่นิยมในแวดวงอุตสาหกรรมความบันเทิงและสื่อมวลชน จะเห็นได้จากการใช้โดรนบินเก็บภาพของสำนักข่าว หรือใช้โดรนในการถ่ายทำฉากที่ต้องการภาพในมุมสูงของภาพยนตร์หลายๆเรื่อง ก่อนที่หลายๆบริษัทจะเริ่มพัฒนาโดรนให้มีขนาดและราคาที่สามารถจับต้องได้ง่าย โดรนจึงกลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ช่วยถ่ายภาพที่ทุกคนสามารถมีไว้ครอบครองได้นั่นเอง

1710TR06-04

แต่มีข้อดีก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย เมื่อทุกคนสามารถครอบครองโดรนได้โดยง่าย จึงมีผู้ใช้บางกลุ่มที่นำโดรนไปบินเพื่อละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากการรายงานของช่องข่าวต่างประเทศที่มักจะมีโดรนแปลกหน้าบินเข้ามาในบริเวณบ้านอยู่เสมอ ซึ่งนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการบันทึกภาพขณะทำกิจกรรมส่วนตัวหรือสอดส่องพฤติกรรมของคนในบ้านเพื่อวางแผนการปล้นก็ย่อมได้ หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ล่าสุดในรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯที่มีการใช้โดรนขนส่งยาเสพติดและอาวุธปืนเข้าไปให้แก่นักโทษในเรือนจำ ก็เป็นการตอกย้ำถึงภัยมืดที่แฝงตัวมากับความก้าวหน้าของเจ้าเทคโนโลยีสุดล้ำตัวนี้

1710TR06-05

ขณะที่ภายในประเทศไทยของเรานั้นมีจำนวนโดรนที่ลงทะเบียนกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเพียงแค่ 350 ลำจากผู้ใช้จริงหลักพันถึงหมื่น ด้วยเหตุนี้เองทาง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.” จึงได้มีมาตรการป้องกันห้ามใช้งานโดรนจนกว่าจะลงทะเบียน โดยเจ้าของโดรนสามารถไปลงทะเบียนได้ทาง สำนักงาน กสทช. สถานีตำรวจ และ สำนักงานการบินพลเรือนฯ พร้อมกับเตรียมเอกสารดังนี้

กรณีบุคคลครอบครองเพื่อใช้งาน

ให้แจ้งชื่อสกุลผู้ครอบครอง หมายเลขเครื่อง ยี่ห้อ และข้อมูลอื่นๆตามแบบฟอร์มของสำนักงานกสทช. รวมไปถึงให้เตรียมภาพถ่ายของโดรนที่นำมาลงทะเบียนและบัตรประชาชนตัวจริงของผู้ครอบครองไปด้วย

กรณีบุคคลครอบครองเพื่อจำหน่าย

ให้แจ้งบัญชีแสดงรายชื่อโดรนที่ครอบครองตามแบบฟอร์มของสำนักงานกสทช. ภาพถ่ายของโดรนที่นำมาลงทะเบียน และบัตรประชาชนตัวจริงของผู้ครอบครอง

ระยะเวลาการลงทะเบียน

ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่ 11 ตุลาคม 2560

สถานที่ลงทะเบียน

สำนักงาน กสทช. ถนนพหลโยธิน 8 พญาไท กรุงเทพฯ สำนักงานกสทช. ภาค และ สำนักงาน กสทช. เขต ทั่วประเทศ

สถานีตำรวจทั่วประเทศ และ สำนักงานการบินพลเรือนฯแห่งประเทศไทย

บทลงโทษ

หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 23 แห่ง ... วิทยุคมนาคม .. 2498

ชาว Gen-C ที่มีโดรนในครอบครองก็อย่าลืมไปลงทะเบียนกันนะครับ

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: https://www.voathai.com

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top