อังกฤษเอาจริง จัดการพฤติกรรม Hate Crime งดการถูกคุกคามบนโลกออนไลน์

อังกฤษเอาจริง จัดการพฤติกรรม Hate Crime งดการถูกคุกคามบนโลกออนไลน์

NOTE:
– ในปี 2015 – 2016 พบว่ามีคดีที่เกิดจากการ Hate Crime สูงกว่า 15,442 คดีในอังกฤษ
– จากผลสำรวจของ CPS พบว่าในไตรมาสแรกของปี 2017 นั้นมีอัตราการเกิดคดี Hate Crime สูงกว่าในไตรมาสแรกของปีที่แล้วถึงร้อยละ 20
– จากผลสำรวจของ NCAVP พบว่ากลุ่มคนที่มักโดน Hate Crime มากที่สุดคือกลุ่มคนที่มีรสนิยมทางเพศแตกต่างจากผู้คนทั่วไป เช่น เกย์ เลสเบี้ยน และ ไบเซ็กชวล เป็นต้น

ในยุคที่ทุกคนมีสมาร์ทโฟนและสามารถเข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายนั้น “Hate Crime” หรือ อาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชัง บนโลกอินเตอร์เน็ตก็ล้วนเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งหลายๆครั้งผู้ที่ถูกได้รับความเกลียดชังกลับต้องจบชีวิตลงหรือใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความหวาดระแวง

ล่าสุดสำนักงานอัยการ “The Crown Prosecution Service” แห่งอังกฤษ นำโดย “Alison Saunder” อัยการสูงสุด ได้ออกมาเคลื่อนไหวถึงมาตรการจัดการผู้ที่ก่อ Hate Crime บนโลกออนไลน์ด้วยการร้องขอให้ศาลพิจารณาโทษเช่นเดียวกับคดีการข่มขู่อื่นๆ

1709TR03-01

สำหรับพฤติกรรมที่เข้าข่าย Hate Crime นั้นก็คือพฤติกรรมที่มุ่งไปในแง่ร้ายต่อความเป็นอัตลักษณ์ของเหยื่อ เช่น สีผิว ศาสนา การเมือง เพศ รวมไปถึงการใช้ถ้อยคำล่วงละเมิด ข่มขู่ ก่อกวน รังควาน และการข่มเหงรังแก ซึ่งจากการเก็บสถิติภายในปีนี้พบว่า มีคดีเกี่ยวกับ Hate Crime ในไตรมาสแรกสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 20 โดยภายในปี 2015 – 2016 ที่ผ่านมา มีคดีที่เกิดจากการ Hate Crime กว่า 15,442 คดี

1709TR03-02

ทั้งนี้ทาง “Federal Bureau of Investigation” (FBI) ของสหรัฐฯก็ได้เล็งเห็นความสำคัญของคดีเกี่ยวกับ Hate Crime เช่นกัน โดยเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ถือเป็นตัวบ่มเพาะให้เกิดแผลลึกในจิตใจและการก่อการร้ายภายในประเทศตามมา ยกตัวอย่างพฤติกรรม Hate Crime เด่นๆภายในประเทศก็เช่น การต่อต้านคนผิวดำ การเหยียด LGBT การต่อต้านกลุ่มมุสลิม เป็นต้น

1709TR03-03

โดยการยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาโทษผู้ที่ก่อการ Hate Crime บนโลกออนไลน์ในครั้งนี้ของอังกฤษ นับเป็นการเรียกร้องกรณีพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องขอให้สภาผ่านกฎหมายใหม่แต่อย่างใด

สำหรับชาว Gen-C ที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Twitter, Facebook WhatsApp ฯลฯ บ่อยๆก่อนจะโพสต์อะไรหรือพิมพ์ว่าใครก็ควรพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วนก่อนนะครับเพราะบ้านเราก็มีกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560 เช่นเดียวกัน

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: techcrunch.com

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top