How to ผ่านที่กั้นรถไฟฟ้าอย่างไรไม่ให้โดนหนีบ

08

NOTE:
– รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดใช้บริการครั้งแรกในปี 2542 ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดินเปิดใช้บริการครั้งแรกในปี 2547
– ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสมีผู้โดยสารรวมเฉลี่ยทั้งสิ้น 8 แสนเที่ยวคน/วัน โดยเฉพาะวันศุกร์ช่วงต้นเดือนอาจมียอดผู้โดยสารพุ่งสูงเกือบ 9 แสนเที่ยวคน/วัน
– จากการคาดการณ์ของ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ หรือ BTSC ที่ได้ประมาณตัวเลขจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสในอนาคต อาจพุ่งสูงเฉลี่ย 1.5 ล้านเที่ยวคน/วันในปี 2564 ทั้งนี้เป็นเพราะการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือจำนวน 25 สถานี

1802-SL-02-02

ปัญหาเรื่องประตูกั้นรถไฟฟ้าหนีบ นับเป็นหนึ่งในปัญหาที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างยาวนาน เพราะถึงแม้ว่าปัญหาดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้โดยสารทุกคน แต่โดยรวมแล้วก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการและก่อให้เกิดความกังวลขึ้นมาได้ และในวันนี้เราก็มีเทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้ตัวเราสามารถผ่านประตูกั้นรถไฟฟ้าได้อย่างสบายใจไม่ต้องกลัวโดนหนีบอีกต่อไปมาฝากชาว Gen-C กันครับ รับรองว่าต่อไปนี้คุณจะเข้ารถไฟฟ้าได้อย่างไร้ความกังวลอย่างแน่นอน

1.ทำความเข้าใจกับระบบประตูกั้นรถไฟฟ้า

ประตูกั้นรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้กันนั้นจะเรียกว่า “AFC Barrier Gates” มีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตรสูงระดับสะโพก โดยภายในประตูจะมีการติดตั้งเซนเซอร์ Optical ทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ สัญญาณตรวจจับก่อนบานประตู 2 จุด และ สัญญาณตรวจจับหลังบานประตูอีก 2 จุด

2.หลักการทำงานของระบบประตูกั้นรถไฟฟ้า

ประตูกั้นรถไฟฟ้าจะทำงานโดยยึดตามระบบสัญญาณตรวจจับทั้งหมด 4 จุด ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่มักเข้าใจว่ามีการตั้งเวลาเปิดปิดจึงมักรีบเดินผ่านจนก่อให้เกิดอันตรายตามมา ทั้งนี้ระบบประตูจะเริ่มทำงานเมื่อผู้โดยสารเสียบหรือแตะบัตรโดยสาร และจะปิดก็ต่อเมื่อผู้โดยสารนำบัตรออกจากบริเวณเสียบ/แตะบัตรเท่านั้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระบบก็ได้ติดตั้งสัญญาณตรวจจับเพื่อป้องกันการลักลอบผ่านประตูกั้นมากกว่าครั้งละ 1 คน ด้วยเซนเซอร์ 2 จุดก่อนถึงบานประตูกั้น โดยระบบจะรับรู้ว่ามีผู้โดยสารผ่านประตูกั้นจากเซนเซอร์จุดที่ 3 และ 4 บริเวณหลังบานประตู

3.สาเหตุที่โดนประตูกั้นรถไฟฟ้าหนีบ

ทั้งนี้การโดนประตูกั้นรถไฟฟ้าหนีบอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการรีบนำบัตรโดยสารออกจากบริเวณจุดเสียบ/แตะบัตรทั้งๆ ที่ยังไม่เดินผ่านบริเวณประตูกั้น หรือการถือสัมภาระ กระเป๋า และสิ่งของที่มีขนาดใหญ่จนไปบังเซนเซอร์จุดที่ 3 หลังบานประตูกั้น จึงทำให้ระบบเข้าใจว่ามีผู้โดยสารผ่านประตูเข้ามาแล้ว

4.จะทำอย่างไรไม่ให้ประตูกั้นรถไฟฟ้าหนีบ

ควรยกสัมภาระ กระเป๋า และสิ่งของขึ้นเหนือประตูกั้นเพื่อไม่ให้บังเซนเซอร์ก่อนที่ตัวเราจะเดินเข้าไป หรือถ้าหากมีสัมภาระ กระเป๋า และสิ่งของชิ้นใหญ่ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประตูกั้น โดยให้เจ้าหน้าที่เปิดประตูบริเวณด้านข้างให้จะดีที่สุด

1802-SL-02-01

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: www.posttoday.com

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top