จะเป็นอย่างไร เมื่อนักบินอวกาศสามารถใช้สมาร์ทโฟนโทรกลับมายังโลกได้

จะเป็นอย่างไร เมื่อนักบินอวกาศสามารถใช้สมาร์ทโฟนโทรกลับมายังโลกได้

NOTE:
– ปัจจุบันไม่มียานอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์มากว่า 45 ปีแล้ว โดยยานที่รับภารกิจสุดท้ายในการสำรวจดวงจันทร์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติคืออพอลโล 17” ซึ่งถูกส่งไปจากโลกเมื่อปี 1972
– “สำนักงานอวกาศแห่งยุโรปหรืออีเอสเอมีแนวคิดในการจัดตั้งมูนวิลเลจหรือหมู่บ้านบนดวงจันทร์ซึ่งจะใช้เป็นอาณานิคมบนอวกาศแห่งแรกของโลก โดยโปรเจคยานอาลีนาจากทาง “PT scientists” ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการในครั้งนี้
– ในปี 2020 ทาง “PT scientists” มีแผนที่จะส่งสถานีฐาน LTE แบบถาวรขึ้นไปยังดวงจันทร์

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีของเราจะก้าวล้ำไปจนถึงขนาดที่ทำให้นักบินอวกาศสามารถใช้สมาร์ทโฟนโทรกลับมายังโลกได้แล้ว

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันแต่อย่างใดเมื่อ “PT scientistsหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านอวกาศและดาราศาสตร์ ได้ออกมาเผยถึงแผนการติดตั้งสถานีสำหรับถ่ายทอดสัญญานโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี “LTE” หรือที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง4G” ในปัจจุบัน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดข้อมูลต่างๆกลับมายังโลกนั่นเอง

1708TR10-01

โปรเจคที่ว่านี้จะเป็นการร่วมมือระหว่างตัวองค์กรกับบริษัทโวดาโฟน ผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ของยุโรป โดยทั้งคู่ได้ตกลงทำสัญญากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางพีทีจะใช้จรวดส่งฟัลคอน 9 ของยานสเปซเอกซ์จัดส่งยานอวกาศนามว่า “ALINA” (อาลีนา) ไปปล่อยไว้บริเวณจุดสูงสุดของ วงโคจรค้างฟ้า ที่มีความสูง 42,000 เหนือพื้นโลกและตัวยานก็จะมีการขับเคลื่อนด้วยตัวเองต่อไปยังดวงจันทร์

1708TR10-03

โดยเมื่ออาลีนาถึงดวงจันทร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตัวยานจะปล่อย ออดี ลูนาร์ ควอโทร์ โรเวอร์ และ โรเวอร์ เพื่อสำรวจพื้นผิวของดวงจันทร์และเดินทางไปสำรวจยังยานอพอลโล 17 ที่เคยลงจอด บนดวงจันทร์เมื่อ 45 ปีที่แล้ว

ซึ่งการสำรวจของยานทั้งสองลำนั้น จะใช้สัญญาน LTE ในการส่งข้อมูลกลับมายังฐานยานอาลีนา เฉกเช่นกับการใช้สมาร์ทโฟนสองเครื่องโทรติดต่อกลับมา โดยยานอาลีนาก็จะนำข้อมูลที่ได้ติดต่อกลับมายังฐานภาคพื้นบนโลกของพีทีอีกทอดหนึ่ง การทำเช่นนี้จะเปลืองพลังงานน้อยกว่าการยิงสัญญานจากโรเวอร์มายังโลกโดยตรง

1708TR10-02

และถ้าหากโปรเจคนี้สำเร็จก็จะเป็นการต่อยอดให้ทางพีทีได้พัฒนาสถานี LTE บนอวกาศในระยะยาวแบบถาวรและในอนาคตการสื่อสารทางไกลระหว่างนักบินอวกาศและฐานภาคพื้นบนโลกก็จะทำได้อย่างง่ายดายและบ่อยครั้งมากยิ่งขึ้น

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: http://ptscientists.com/products/alina/index.html

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top