ขีดเส้นใต้ “จุดปลอดภัย” แบกภาระหนี้แค่ไหน ถึงจะเรียกว่า ‘พอดี’

เมื่อการเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด โดยเฉพาะ “หนี้ดี” จากการลงทุนที่เปรียบเสมือนเครื่องมือสร้างความมั่นคงในอนาคต เช่น การขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, การขอสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องมือประกอบอาชีพ ฯลฯ แต่ทั้งนี้ก็มีลิมิตความพอดีที่วันนี้มีสูตรคำนวณมาแนะนำ

รู้จักคำว่า “อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวม” (Debt to Income Ratio: DTI) เป็นระดับความปลอดภัยหากต้องมีหนี้ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตร หนี้รายเดือน / รายได้ต่อเดือน x 10 = อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวม

วิธีคำนวณคือ ให้รวม ‘หนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมด’ ในแต่ละเดือน มาหารกับ ‘รายได้รวม’ ในแต่ละเดือน เช่น รายได้รวมแต่ละเดือนได้ 40,000 บาท มีหนี้ต้องจ่ายรวม 18,000 บาท ผลลัพธ์ที่ได้คือ 18,000 / 40,000 x 100 = 45% นั่นหมายความว่าทุกๆ 100 บาทต้องจ่ายหนี้ 45 บาท

แล้วเป็นหนี้เท่าไรจึงจะ “พอดี” แนะนำว่าอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวม “ไม่ควรมากกว่า 36%” ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่แสดงว่าคุณมีสุขภาพการเงินที่แข็งแรง เมื่อสุขภาพการเงินแข็งแรงการขอสินเชื่อในอนาคตก็สามารถผ่านได้ง่ายๆ แต่หากมากกว่า 36% หมายความว่า…

  • 37-42% แสดงว่าสถานะการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนได้ปกติ
  • 43-49% เริ่มมีปัญหาเรื่องหนี้สิน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าคุณเริ่มก่อหนี้เกินตัว แนะนำให้ลดหนี้ที่ไม่จำเป็นให้เร็วที่สุด
  • 50% ขึ้นไป หนี้อัตราส่วนนี้อยู่ในขั้นอันตราย นั่นเพราะคุณต้องจ่ายหนี้ครึ่งหนึ่งของรายได้ แนะนำให้รีบปลดหนี้เก่า พร้อมหยุดสร้างหนี้ใหม่

การรู้อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวมจะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้รอบคอบและปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นการคำนวณหาความพอดีของการเป็นหนี้จึงเป็นเรื่องที่แนะนำ เช่นเดียวกันกับการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย

แล้วคุณละ… อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวมตอนนี้อยู่ที่เท่าไร?

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top