Sandwich Generation คืออะไร? ต้องวางแผนการเงินแบบไหน

เพื่อน ๆ เคยได้ยินคำว่า ‘Sandwich Generation’ แล้วหรือไม่? แล้วทำไมวันนี้ Ananda ถึงนำคำนี้มาให้ทุกคนทำความรู้จัก เพราะเนื่องด้วยสังคมผู้สูงอายุมีตัวเลขพุ่งสูงขึ้น ดังนั้นการกดทับระหว่างเจเนอเรชันจึงมีโอกาสเกิดได้มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ให้นิยามกลุ่มคนตรงกลางว่า Sandwich Generation เป็นกลุ่มคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งตัวเอง พ่อแม่ผู้สูงอายุ และครอบครัวตัวเอง

จากที่เกริ่นมาข้างต้น Sandwich Generation จะหมายถึงกลุ่มคนที่มีอายุ 30 – 50 ปี ที่ต้องรับผิดชอบทั้งการดูแลลูกหลานที่ยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และต้องดูแลพ่อแม่ที่เริ่มมีอายุมากขึ้น ซึ่งต้องการความช่วยเหลือทางด้านการเงินหรือการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ดังนั้นกลุ่มคน Sandwich Generation จึงมักพบกับความท้าทายหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • ภาระทางการเงิน ต้องจัดสรรเงินเพื่อการศึกษาของบุตร, จัดการภาระหนี้สินซื้อบ้าน-ซื้อรถ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และต้องจัดสรรเงินเพื่อดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ของพ่อแม่อีกด้วย
  • การจัดการเวลา นอกจากเวลาในการทำงานแล้ว ยังต้องมีเวลาดูแลลูกหลาน และดูแลพ่อแม่ด้วย
  • สุขภาพจิต ต้องจัดการกับภาระความกดดันรอบด้านที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต

เพื่อน ๆ อาจจะสงสัยว่าทำไมในบล็อก Gen C วันนี้เราถึงพูดถึง Sandwich Generation เพราะในตอนนี้กลุ่มวัย Gen C ไม่ต้องรับมือการเป็น Sandwich Generation ก็จริง แต่ในอนาคตเราอาจจะต้องเจอกับสถานการณ์เหล่านี้ จึงต้องเตรียมวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคตที่กำลังมาถึงอย่างแน่นอน 

  • การวางแผนทางการเงิน:
    – สร้างแผนการใช้จ่ายที่มีความชัดเจน และทำรายรับ-รายจ่ายในทุกเดือน
    – แยกเงินสำรองฉุกเฉินเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินสำหรับตัวเอง และครอบครัว เช่น การเจ็บป่วยของพ่อแม่หรือบุตร
    – พิจารณาลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก
  • การลงทุนเพื่ออนาคต:
    – ต้องเริ่มวางแผนการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าของเงิน เช่น การลงทุนในกองทุนรวม หุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์
    – เริ่มสะสมเงินเพื่อการเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย
  • วางแผนการทำประกันภัย:
    – ทำประกันชีวิตและสุขภาพให้กับตัวเองและสมาชิกในครอบครัว เพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต
    – ตรวจสอบและอัปเดตประกันภัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • การศึกษาและเรียนรู้:
    – หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินและการลงทุน
    – ติดตามข่าวสารและแนวโน้มทางการเงินเพื่อปรับแผนการใช้จ่ายและการลงทุนให้เหมาะสม

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top