เผลอช้อปออนไลน์เยอะไป! How to วางแผนการเงินในสถานการณ์เสี่ยง

เมื่อต้องเก็บตัวอยู่บ้านอีกครั้ง หลายคนจึงเผลอช้อปปิ้งออนไลน์อย่างเมามัน กว่าจะรู้ตัววงเงินบัตรเครติตก็เต็มซะแล้ว แถมสถานการณ์ในช่วงนี้ยังไม่มั่นคงต่อเงินในกระเป๋า วันนี้เราจึงมี How to วางแผนการเงินในช่วงสถานการณ์เสี่ยงแบบนี้มาแนะนำกันครับ

  1. สำรวจหนี้ที่สร้าง และเงินสำรองที่มี

เริ่มต้นด้วยการมองให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์การเงินของตัวเองก่อนว่า ขณะนี้มีหนี้อะไรอยู่บ้าง โดยให้นำหนี้ต่างๆ มาลิสต์ พร้อมคำนวณร่วมกัน เพื่อหา “จำนวนหนี้” ทั้งหมดที่เราต้องจ่าย 

นอกจากคำนวณหนี้แล้ว อย่าลืมคำนวณเงินสำรองหรือเงินเก็บกันด้วย เผื่อกรณีที่รายได้ประจำหยุดชะงัก เราจะได้เตรียมพร้อมบริหารเงินฉุกเฉินได้อย่างครอบคลุมและระมัดระวังมากขึ้น โดยให้ลองคำนวณในกรณีเลวร้ายที่สุด หากว่าเราเกิดตกงาน เราต้องมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเท่าไรจึงจะพอ

  1. บันทึกรายรับและรายจ่าย

การคำนวณรายรับและรายจ่ายในแต่ละวัน เพื่อให้เราลงลึกในรายละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่รายได้หยุดชะงัก ในอีก 2-6 เดือนข้างหน้า เราจะได้ทราบว่าจะมีรายจ่ายอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพื่อให้เตรียมตัวตั้งรับได้ทัน

นอกจากนี้การบันทึกรายรับ-รายจ่าย ยังช่วยให้เราตัด “รายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป” โดยเฉพาะคนที่เผลอช้อปปิ้งออนไลน์โดยไม่รู้ตัว การจดบันทึกรายจ่ายจะทำให้คุณรู้สึกตัวและหยุดตัวเองไม่ให้ช้อปปิ้งออนไลน์มากเกินไป 

ส่วนการบันทึกรายรับ ก็เพื่อให้ตัวเราเห็นภาพรวมของเส้นทางการเงินว่า ตอนนี้เรามีรายจ่ายมากกว่ารายรับอยู่หรือเปล่า ยิ่งบันทึกอย่างละเอียดและสม่ำเสมอจะยิ่งทำให้เราจัดการการเงินได้ดีขึ้น

  1. จัดลำดับความสำคัญของหนี้

การจัดลำดับความสำคัญของหนี้ จะช่วยให้เราบริหารเงินได้ดีมากขึ้น โดยนำลิสต์รายการหนี้จากข้อ 1 มาแจกแจงใส่ตารางอย่างละเอียด โดยแนะนำให้จดบันทึกทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย และระยะเวลาในการผ่อน การแจกแจงแบบนี้จะทำให้เราจัดลำดับหนี้แต่ละรายการได้ง่ายขึ้น

ส่วนการจัดลำดับความสำคัญของหนี้ ให้เลือกจ่ายหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงก่อน เพื่อช่วยลดจำนวนดอกเบี้ย ส่วนหนี้บางรายการ แนะนำให้ปรึกษากับสถาบันการเงินเจ้าของหนี้ เพื่อผ่อนผันหนี้ออกไป 

  1. หยุดสร้างหนี้เพิ่ม

ข้อนี้สำคัญสำหรับคนที่ชอบช้อปปิ้งออนไลน์ เพราะถึงแม้ว่าราคาสินค้าจะไม่แพง แต่หากช้อปปิ้งหลายๆ ชิ้นรวมกันก็กลายเป็นหนี้ก้อนโตได้เช่นกัน โดยการหยุดช้อปปิ้งออนไลน์มีเทคนิคง่ายๆ มาแนะนำดังนี้

  • หากจำเป็นต้องซื้อของจริงๆ ให้จดรายการของที่ซื้อ และรายการนั้นต้องพิจารณาแล้วว่าเป็นของจำเป็นจริงๆ ที่สำคัญเวลาช้อปปิ้งออนไลน์ให้ซื้อเฉพาะสิ่งของที่จดไว้เท่านั้น
  • ยกเลิกการแจ้งเตือน ทั้ง notification ของแอปฯ ช้อปปิ้งออนไลน์ รวมทั้งอีเมล์แจ้งข่าวสารโปรโมชั่น ฯลฯ เพื่อลดสิ่งเย้ายวนใจที่อาจทำให้ความตั้งใจล้มเหลว
  • ลบข้อมูลบัตรเครดิตออกจากแอปฯ ช้อปปิ้งทั้งหมด เพราะจะทำให้การช้อปปิ้งออนไลน์ยุ่งยากยิ่งขึ้น แถมยังทำให้เราได้สติก่อนกดช้อป ที่สำคัญอย่าลืมเก็บบัตรเครดิตใบนั้นใส่กุญแจเอาไว้ จนกว่าจะจ่ายหนี้บัตรเครดิตใบนั้นหมดซะก่อน
  1. มองหาอาชีพที่สอง หรือ Passive income

ด้วยสถานการณ์เสี่ยงในปัจจุบัน การมีอาชีพที่สอง หรือรายได้เสริมจะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้เงินในกระเป๋า ซึ่งอาชีพที่สองนี้อาจเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้เมื่อว่างจากงานประจำ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นงานอดิเรกหรือความสนใจที่มีอยู่เดิม อาทิ นักเขียนออนไลน์, แม่ค้าขนมที่สั่งตามออเดอร์, ขายภาพถ่ายทางออนไลน์ หรือการเป็น Youtuber ฯลฯ

นอกจากการมีอาชีพที่สองแล้ว การให้เงินต่อเงินหรือ Passive income ก็เป็นอีกแผนการเงินที่น่าสนใจ อย่างการลงทุนในหุ้น หรือการลงทุนในกองทุนต่างๆ รวมทั้งการให้ปล่อยเช่าอสังหาฯ  เป็นต้น แต่ทั้งนี้เราต้องศึกษาข้อมูลการลงทุนให้เข้าใจซะก่อน เพราะทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง

จัดการเรื่องการเงินไม่ใช่เรื่องยาก หากเรามีวินัยและใช้จ่ายอย่างมีสติ โดยเฉพาะ “การช้อปปิ้งออนไลน์” ที่กลายเป็นศัตรูตัวร้ายทำรายแผนการเงินครับ

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top