NOTE:
– ในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่มีผู้ใช้งาน Mobile เพิ่มขึ้นมากที่สุด
– ในปีที่ผ่านมามีจำนวนการใช้งานสมาร์ทโฟนภายในประเทศไทยทะลุ 50 กว่าล้านเครื่อง
– ยอดการขายโทรศัพท์มือถือกว่าร้อยละ 80 ในไตรมาสแรกล้วนเป็นสมาร์ทโฟนทั้งสิ้น
– ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยจะใช้เวลาไปกับสมาร์ทโฟนโดยเฉลี่ย 230 นาทีหรือเกือบ 4 ชั่วโมงต่อวัน
ปัจจุบันสมาร์ทโฟนได้เข้ามามีบทบาทกับผู้คนในสังคมจนแทบจะเป็นปัจจัยที่ 5 เป็นที่เรียบร้อย ไม่ว่าจะทานข้าวแต่ละครั้งก็จะต้องมีคนหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายรูปเพื่ออัพลงโซเชียลหรือแม้กระทั่งออฟฟิศหลายๆที่ก็มีกลุ่มสนทนาในไลน์ที่เอาไว้คุยเรื่องงาน ด้วยเหตุนี้ในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนแต่ละเครื่อง นอกจากความชอบส่วนบุคคล สเปคของเครื่องเช่น แรม ความเร็ว ความชัดของจอ ความจุแบตเตอรี่ ความละเอียดของกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจ แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าสมาร์ทโฟนที่เราซื้อมาจะไม่โดนย้อมแมวหรือสเปคไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้นั้น วันนี้เรามีทริคมาบอกครับ
1.ศึกษาสเปคคร่าวๆก่อนตัดสินใจ
หลายครั้งที่คนเรามักมียี่ห้อในดวงใจ แต่เมื่อซื้อมาแล้วกลับไม่ตรงกับความต้องการในการใช้งาน ดังนั้นเราควรศึกษาสเปคคร่าวๆของสมาร์ทโฟนก่อนที่จะซื้อ เพื่อจะได้ประเมินดูว่าตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ ถ้าไม่จะมีรุ่นใดบ้างที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของเราได้ดีที่สุด
2.อ่านรีวิวจากผู้ใช้งานจริง
การอ่านรีวิวจากผู้ใช้งาน จะทำให้เราได้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของตัวผลิตภัณฑ์จากการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าสมาร์ทโฟนเครื่องนี้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราหรือไม่ แต่ควรระวังรีวิวที่มาจากสปอนเซอร์(SR) เพราะจะถูกบิดเบือนข้อมูลที่ได้รับให้มีแต่แง่บวกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว
3.ซื้อจากศูนย์จำหน่ายที่ไว้ใจได้
ข้อนี้สำคัญมากๆเพราะการซื้อสมาร์ทโฟนจากตัวแทนจำหน่ายหรือเครือข่ายโอเปอเรเตอร์ จะมีความเสี่ยงในการถูกหลอกน้อยกว่าการซื้อในเว็บไซต์ ร้านตู้กระจก หรือร้านที่นำมาลดราคาที่ถูกกว่าราคาในตลาดขณะนั้นจนน่าสงสัย อย่าปล่อยให้ความโลภครอบงำจนตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพดังที่เห็นในข่าวอยู่บ่อยๆเลยนะครับ
4.คำนวณราคาโปรโมชั่นที่คุ้มที่สุด
นอกจากศูนย์จำหน่ายที่ไว้ใจได้แล้ว ถ้าลองสังเกตุดูดีๆในศูนย์เหล่านี้บางครั้งยังมีการตั้งราคาที่แตกต่างกันอยู่นิดหน่อย หรือถ้าราคาเท่ากันก็จะมีของแถมเล็กๆน้อยๆที่พิเศษแตกต่างกันไป การเปรียบเทียบดูเพื่อคำนวณว่าโปรโมชั่นค่ายไหนคุ้มที่สุด จะทำให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดที่พึงจะได้นั่นเองครับ
5.ตรวจสอบเครื่องก่อนรับสินค้า
ข้อนี้คือใจความสำคัญที่ต้องการให้ชาว Gen-C พึงระลึกอยู่เสมอว่า ไม่ควรไปซื้อสินค้าใดๆในเวลาที่เร่งรีบเพราะจะทำให้เรามีเวลาตรวจสอบสินค้าไม่เพียงพอ การเผื่อเวลาก่อนไปซื้อนั้นจะช่วยให้เราได้ตรวจสอบสินค้าและเปลี่ยนเครื่องได้ทันท่วงทีในกรณีที่มีปัญหา โดยควรตรวจสอบจุดต่างๆ ดังนี้
สภาพกล่อง
ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่บุบเบี้ยว พลาสติกที่หุ้มกล้องต้องไม่มีรอยฉีกขาดหรือถูกเปิดมาก่อนหน้านั้น
อุปกรณ์ภายใน
หลังจากที่เราหาข้อมูลมาเรียบร้อยแล้วก็ต้องทำการตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์ต่างๆมีครบหรือไม่ หูฟัง สายชาร์ต แท่นชาร์ต การ์ดหน่วยความจำ ฯลฯ และถ้าครบก็ต้องอยู่ในสภาพที่ใหม่ไม่มีรอยแกะใช้งาน ทั้งนี้รวมไปถึงคู่มือและใบรับประกันสินค้าด้วยเช่นกันครับ
เช็คสภาพตัวเครื่องภายนอก
– เริ่มจากตัวเครื่องภายนอกต้องไม่มีรอยบุบหรือขูดขีด
– ปุ่มทั้งหมดต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน กดแล้วเด้งไม่ค้างไม่หลวม
– เมื่อเขย่าเครื่องต้องมีความแน่น ไม่มีเสียงชิ้นส่วนอะไหล่กลิ้งไปมาอยู่ภายใน
– เลนส์กล้องต้องสะอาดไม่มีคราบฝุ่นหรือรอยขีดข่วน
– เสียงจากลำโพงต้องใสไม่อู้อี้หรือเบาจนผิดปกติ
– สายชาร์ตและหูฟังต้องเสียบใช้งานกับตัวเครื่องได้ตามปกติ
เช็คสภาพตัวเครื่องภายใน
– หน้าจอต้องตอบสนองต่อการทัชได้ทุกจุด
– ตรวจสอบเลข IMEI ของเครื่องว่าตรงกับบนกล่องหรือไม่ด้วยการกด *#06#
– เช็ค Dead Pixel หรือจุดที่แสดงสีผิดเพี้ยนบนหน้าจอโดยการเข้าไปที่ www.iphonedpt.awardspace.com (สำหรับไอโฟน) หรือ *#0*# (สำหรับรุ่นอื่นๆ)
– ใส่ซิมส์การ์ดแล้วลองโทรออกเพื่อเช็คเสียงไมค์และลำโพงระหว่างการสนทนา
– เช็คการทำงานของกล้องหน้าและกล้องหลังทั้งในโหมดถ่ายภาพปกติและโหมดถ่ายวิดีโอ
– ทดสอบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตั้งแต่ระบบ 3G , 4G , Wifi ไปจนถึงการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานอย่าง Bluetooth
– เช็คการทำงานของระบบแสกนลายนิ้วว่าแม่นยำหรือไม่
– ตรวจสอบแถบความชื้นด้านล่าง(กรณีไอโฟน) ควรมีสีขาวปกติไม่เป็นสีดำหรือแดง (มีผลต่อการรับประกัน)
หากตรวจสอบได้ตามนี้ทุกข้อ รับรองไม่มีโดนหลอกอย่างแน่นอนครับ
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development