NOTE:
– กลุ่มประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิกมีผู้พิการมากที่สุดในโลก ซึ่งผู้พิการจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ และเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีใครรับเข้าทำงาน และไม่ได้รับบริการด้านคมนาคมและสุขภาพ เป็นต้น
ในขณะที่ uber ในไทยกับกฎหมายการขับขี่ยังเป็นที่กังขาของสาธารณะแล้วเรายังได้ยินข่าวล้อมจับของบางกลุ่มคนบ่อยๆ วันนี้ uber ไม่หยุดแค่เป็นผู้ให้บริการรถสาธารณะ แต่ยังเป็นมิตร ปลอดภัย และเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ให้กับทั้งผู้สูงอายุ คนพิการ รวมถึงผู้ใช้อื่นๆ ที่ไม่สามารถใช้บริการรถสาธารณะซึ่งยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตประจำวันได้
แม้พวกเขาจะสามารถเดินทางในชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเอง แต่จะดีกว่าไหม หากการเดินทางที่มักติดขัดเหล่านั้นง่ายขึ้นจากแค่ปลายนิ้วด้วย uberASSIST บริการใหม่ล่าสุดที่ Uber ประเทศไทยยินดีนำเสนออย่างยิ่ง
ใครสามารถใช้ uberASSIST ได้บ้าง?
- คนที่เคลื่อนไหวไม่สะดวก มักใช้รถเข็นแบบพับได้ รถช่วยเดิน และไม้เท้าขาว ซึ่งรวมถึงผู้สูงอายุด้วย
- คนพิการที่มีผู้ช่วยส่วนตัว
- คนตาบอด
- คนหูหนวก
- คนที่ไม่แสดงความพิการออกมาชัดเจน
uberASSIST เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะยกระดับทุกการเดินทางในชีวิตประจำวันให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยยังคงใช้งานง่ายเช่นเดียวกับ uberX และ uberFLASH แต่เพิ่มความพิเศษให้กับคนพิการและผู้สูงอายุที่ต้องการความสะดวกในการเดินทาง uberASSIST จึงเป็นเหมือนผู้ช่วยบนท้องถนนที่พร้อมทำให้การเดินทางของคนพิการและผู้สูงอายุง่ายขึ้นกว่าเดิม
ความพิเศษของ uberASSIST
– พาร์ทเนอร์ร่วมขับมีคะแนนดาวสูง และมีประสบการณ์การขับ Uber มาแล้วมากกว่า 100 เที่ยว และมีขนาดรถที่เหมาะสมในการขนย้ายรถเข็นแบบพับได้
– พาร์ทเนอร์ผู้ร่วมขับทุกคนของ uberASSIST มีความเข้าใจ พร้อมให้บริการและอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ที่เรียกใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ใช้อื่นๆ ที่ไม่สามารถใช้บริการรถสาธารณะซึ่งยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตประจำวันได้
– พาร์ทเนอร์ที่ร่วมขับ uberASSIST ได้ผ่านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้จาก ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (Transportation For All – T4A) อย่างไรก็ตาม uberASSIST เป็นเพียงทางเลือกในการเดินทางทั่วไป ไม่ใช่บริการรถพยาบาล
– หากต้องการให้พาร์ทเนอร์อำนวยความสะดวก สามารถบอกพาร์ทเนอร์ร่วมขับให้รู้ได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มเดินทาง โดยพาร์ทเนอร์สามารถช่วยนำทางคุณไปยังรถได้อย่างสะดวก ปลอดภัย หากคุณต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถให้ผู้ช่วยส่วนตัวของคุณดำเนินการในส่วนนี้ได้
– พาร์ทเนอร์ร่วมขับได้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ให้ดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ เช่น ไม้เท้าขาว รถเข็นที่พับได้ แต่คุณก็สามารถให้คำแนะนำการจัดเก็บและดูแลอุปกรณ์ในระหว่างทางได้ เพราะเราเข้าใจดีว่าอุปกรณ์เหล่านั้นมีความสำคัญกับคุณ
– คุณสามารถกดเรียก uberASSIST ให้กับเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณที่ต้องการใช้บริการ uberASSIST
หัวหน้าองค์การคนพิการสากลชี้กรุงเทพฯ ควรมีทางเลือกการเดินทางที่หลากหลาย และเหมาะสมแก่ผู้พิการ, ผู้สูงอายุ
เสาวลักษณ์ ทองก๊วย หัวหน้าสำนักงานองค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก และพันธมิตรภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ กล่าวถึงสาเหตุที่กรุงเทพฯ ควรมีบริการเดินทางเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวคุ้มค่า ซึ่งในจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามานี้ ก็มีผู้พิการและผู้สูงอายุรวมอยู่ด้วย และกรุงเทพฯ ยังเป็นที่ตั้งของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) และเป็นศูนย์กลางประชาคมอาเซียน
“เมื่อเดือนมีนาคมปี 2559 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เผยข้อมูลว่าปัจจุบันกรุงเทพฯ มีประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ประมาณ 800,000 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุที่สามารถเดินเหินเองได้ประมาณ 92% ซึ่งถือว่าไม่ใช่น้อย นอกจากนี้ก็มีผู้พิการประเภทต่างๆ อีกประมาณ 840,000 กว่าคน รวมๆ กันแล้วประมาณ 1.6 ล้านคนหรือมากกว่านั้น
“ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อปี 2558 ระบุว่า นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุสร้างรายได้ให้ประเทศไทยมากถึง 195,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.66% ของรายได้ท่องเที่ยวทั้งหมด มีจำนวนนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุคิดเป็น 12.1% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด”
เสาวลักษณ์บอกว่า ความท้าทายของกรุงเทพมหานครในตอนนี้คือ การเพิ่มรูปแบบบริการการเดินทางที่หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการในแต่ละวันของคนกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยว ถึงแม้ทุกวันนี้จะมีรถไฟฟ้า แต่การเดินทางด้วยขนส่งโครงข่ายเดียวยังเป็นไปไม่ได้ในระหว่างเมือง เพราะยังต้องการการเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งแต่ละระบบอยู่ ดังนั้นจึงต้องมีบริการการเดินทางที่สร้างความสะดวกใจให้แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ดีขึ้น
ด้าน ศิริภา จึงสวัสดิ์ ผู้จัดการ Uber ประเทศไทยบอกว่า “เราทำ uberASSIST โดยให้ความสำคัญกับการตระหนักรู้ว่า ผู้พิการและผู้สูงอายุแต่ละคนต้องการการอำนวยความสะดวกที่ต่างกัน การสอบถามว่าต้องการช่วยอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมหรือเปล่า และสุดท้ายคือการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพวกเขา เพื่อให้การเดินทางราบรื่นและสะดวกสบาย”
อย่างไรก็ดี ในส่วนของรายละเอียดการให้บริการ Uber ย้ำว่า บริการของพวกเขาไม่ใช่รถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินแต่อย่างใด แต่แตกต่างจากรถ Uber ทั่วๆ ไปตรงที่รถให้บริการมีขนาดกลางขึ้นไป สามารถบรรทุกรถเข็นแบบพับได้ โดยผู้เรียกใช้บริการสามารถแจ้งล่วงหน้าถึงรายละเอียดและขอบเขตการบริการที่ต้องการได้รับ เช่น ผู้พิการทางสายตาและผู้พิการทางการได้ยิน
ด้านความปลอดภัย Uber บอกว่า ผู้ร่วมขับทุกคนผ่านการอบรมจากหลักสูตรมาเป็นอย่างดี นอกจากนี้ผู้ใช้บริการก็สามารถเลือกฟีเจอร์แชร์ทริปการเดินทางไปให้ครอบครัวหรือผู้ที่ดูแลเพื่อตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการเดินทางในแต่ละครั้งว่าผู้โดยสารเดินทางถึงที่หมายแล้วหรือยัง หรือวิ่งออกนอกเส้นทางหรือไม่
ปัจจุบัน Uber เพิ่งเปิดตัว uberASSIST ไปไม่นาน จึงทำให้มีผู้ให้บริการในโครงการนี้เพียง 39 คนเท่านั้น ซึ่ง Uber ตั้งเป้าไว้ว่าไม่เกิน 3 เดือนข้างหน้านี้จะต้องเพิ่มจำนวนผู้ร่วมขับ uberASSIST ให้ถึง 200 คนให้ได้ จึงจะเป็นจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่เป็นผู้พิการและผู้สูงอายุ
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: https://www.uber.com/th และ Thestandard.co